2547 isbn 974 - 464 - 170 - 3 · 2010. 10. 19. · จ k 45153313 : major: ceramics key word : the...

Post on 26-Nov-2020

1 Views

Category:

Documents

0 Downloads

Preview:

Click to see full reader

TRANSCRIPT

จินตภาพจากความรื่นรมย

โดย นางสาวสุภาพร อรรถโกมล

วิทยานิพนธนีเ้ปนสวนหนึง่ของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาเครื่องเคลือบดินเผา ภาควชิาเครื่องเคลือบดินเผา

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ปการศึกษา 2547

ISBN 974 - 464 - 170 - 3 ลิขสิทธ์ิของบณัฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

THE PLEASURE

By Supaporn Attakomonl

A Thesis Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements for the Degree MASTER OF FINE ARTS

Department of Ceramics Graduate School

SILPAKORN UNIVERSITY 2004

ISBN 974 – 464 – 170 – 3

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร อนุมัติใหวิทยานิพนธเรื่อง “จินตภาพจากความรื่นรมย” เสนอโดย นางสาวสุภาพร อรรถโกมล เปนสวนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาเครื่องเคลือบดินเผา

…………………………………………….. (รองศาสตราจารย ดร. จิราวรรณ คงคลาย)

คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย วันที…่……เดอืน……………..พ.ศ………

ผูควบคุมวิทยานิพนธ 1. อาจารยกรธนา กองสุข 2. อาจารยวศนิบรีุ สุพานิชวรภาชน คณะกรรมการตรวจสอบวิทยานิพนธ ……………………………………ประธานกรรมการ (อาจารยสืบพงศ เผาไทย) ………./………………./……………. ……………………………………กรรมการ ……………………………กรรมการ (ศาสตราจารยเกียรติคณุเสริมศักดิ์ นาคบวั) (อาจารยวศินบุรี สุพานิชวรภาชน) ………./………………./……………. ………./………………./……………. ……………………………….......กรรมการ ……………………………กรรมการ (อาจารยกรธนา กองสขุ) (อาจารยประเสริฐ พิชยะสุนทร) ………./………………./……………. ………./………………./…………….

K 45153313 : สาขาวิชาเครื่องเคลือบดินเผา คําสําคัญ : จินตภาพจากความรื่นรมย/โครงการสรางสรรคประติมากรรมเครื่องเคลือบดินเผา สุภาพร อรรถโกมล : จินตภาพจากความรื่นรมย ( THE PLEASURE ) อาจารยผูควบคุมวิทยานิพนธ : อ.กรธนา กองสุขและอ.วศินบรีุ สุพานิชวรภาชน. 64 หนา. ISBN 974 – 464 – 170 - 3

วิทยานพินธนี้เปนการสรางสรรคผลงานประติมากรรมเครื่องเคลือบดินเผา ในรูปแบบกึ่งนามธรรม (Semi Abstract)โดยไดรับแรงบันดาลใจจากสภาพชวีิตในธรรมชาติคือ พืชตาง ๆ ที่ใหความรูสึกถึง ความมีชีวิตชีวา ความรื่นรมย และความเบิกบาน ส่ิงเหลานี้ กอเกิดเปน ความประทับใจ และไดนํามาเปนแรงบันดาลใจในการสรางสรรคผลงาน โดยหยิบยกสวนประกอบตางๆ ของพืชมาลดทอน คล่ีคลาย เพื่อส่ือถึงความรูสึกที่ไดรับ ผลงานสําเร็จมีจํานวน 3 ชุดโดยมีรายละเอยีดดังนี ้ ชุดที่ 1 มีจํานวน 3 ช้ินโดยใชเนื้อดินเอิทเทนแวร (Earthenware) เผาเคลือบที่อุณหภูมิ 1,060 องศาเซลเซียส ในบรรยากาศแบบสันดาปสมบูรณ (Oxidation Firing) โดยสราง พื้นผิวและลวดลายจากการจดุดวยเคลือบ ชุดที่ 2 มีจํานวน 11 ช้ินโดยใชเนื้อดินเอิทเทนแวร (Earthenware) เผารมควันที่อุณหภูมิ 1,000 องศาเซลเซียส ดวยเตาแก็สและใชเนื้อดินโบนไชนา (Bone China)ผสมเยื่อกระดาษ(Paper Clay) เผาแกรงโดยไมมีเคลือบอุณหภมูิ 1,250 องศาเซลเซียส ในบรรยากาศแบบสันดาปสมบูรณ(Oxidation Firing) ชุดที่ 3 มีจํานวน 10 ช้ินโดยใชเนื้อดินเอิทเทนแวร (Earthenware) เผาเคลือบที่อุณหภูมิ 1,060 องศาเซลเซียส ในบรรยากาศแบบสันดาปสมบูรณ(Oxidation Firing) และใชเนื้อดินโบนไชนา (Bone China) เผาแกรงโดยไมมีเคลือบอุณหภูมิ 1,250 องศาเซลเซียส ในบรรยากาศแบบสันดาปสมบูรณ(Oxidation Firing) จากการสรางสรรควิทยานพินธ ขาพเจาหวังใหผลงานเปนสวนหนึ่ง ในการกระตุนใหผูพบเห็น ตะหนักถึงคุณคา และความงามที่มีอยูในธรรมชาติ ภาควิชาเครื่องเคลือบดินเผา บัณฑติวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ปการศึกษา 2547 ลายมือช่ือนักศึกษา ………………………………….. ลายมือช่ืออาจารยผูควบคุมวทิยานิพนธ 1. …………..…….…...…… 2. ……..………………...

K 45153313 : MAJOR: CERAMICS KEY WORD : THE PLEASURE/THE CREATION PROJECT OF CERAMIC SCULPTURE SUPAPORN ATTAKOMONL : THE PLEASURE. THESIS ADVISORS: KORNTHANA KONGSOOK AND WASINBURI SUPANICHWORAPARCH. 64 pp. ISBN 974 - 464 - 170 - 3 Thesis is associated with creation of ceramic works in the form of Semi Abstract. The author was inspired by the life conditions in nature i.e. plants which induced the feelings of liveliness, enjoyment, and cheerfulness. These caused an impression which then became the author's inspiration of the work creation. The parts of the plants were lessened and slackened in order to represent such feelings. The complete works were characterized as installation works, consisting of 3 sets, as the following details: No. 1 set has 3 pieces that were made of Earthenware with the glost firing in oxidation at a temperature of 1,060 degrees Celsius, and then creating their surfaces and patterns from marking points with glaze. No. 2 set has 11 pieces that were made of Earthenware with smoke firing at a temperature of 1,000 degrees Celsius in a gas furnace, and Bone China mixed with fiber from paper with biscuit firing in oxidation at a temperature of 1,250 degrees Celsius without glaze. No. 3 set has 10 pieces that were made of Earthenware with glost firing in oxidation at a temperature of 1,060 degrees Celsius, and Bone China with biscuit firing in oxidation at a temperature of 1,250 degrees Celsius. From this thesis creation, the author hopes the works become the things encouraging audience to realize the value and the beauty of nature.

Department of Ceramics Graduate School, Silpakorn University Academic Year 2004 Student’s signature ………………………………………...…. Thesis Advisors’ signature 1. …………..………………….. 2. …………..…………………..

กิตติกรรมประกาศ

โครงการสรางสรรคประติมากรรมเครื่องเคลือบดินเผา เร่ือง “จินตภาพจากความร่ืนรมย” ในครั้งนี้สําเร็จลงไดโดยความชวยเหลือจากบุคคลหลายทานที่สําคัญคือ ขอกราบบูชา พระคุณบิดา มารดา พี่ๆ ผูใหกําลังใจ สนับสนุน มอบชีวิตและความรัก ดวยความกตัญูอยางสูงตลอดจนครูอาจารยผูควบคุมวิทยานิพนธ อาจารยกรธนา กองสุข อาจารยวศินบุรี สุพานิชวรภาชน ขอขอบพระคุณ ศาสตราจารยเกียรติคุณ เสริมศักดิ์ นาคบัว อาจารยประเสริฐ พิชยะสุนทร อาจารยศุภกา ปาลเปรม ผูชวยศาสตราจารยปรีชา อมรรัตน อาจารยสืบพงศ เผาไทย อาจารยณัฏฐินี ศตวรรษธํารง อาจารยวรรณณา ธิธรรมมา และอาจารยสยุมพร กาษรสุวรรณ คณาจารยผูสอน ผูใหความรู และชี้แนะแนวทางการสรางสรรคผลงานครั้งนี้ ขอขอบพระคุณ ผูสนับสนุนเงินทุนในการจัดทําวิทยานิพนธคร้ังนี้ ไดแก มูลนิธิพระบรมราชานุสรณพระบาทสมเด็จพระปกเกลาเจาอยูหัว และสมเด็จพระนางเจารําไพพรรณี ศูนยมานุษยวิทยาสิรินธร(องคการมหาชน) และ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

ขอขอบพระคุณเจาหนาที่ทุกทานในภาควิชาเครื่องเคลือบดินเผา พี่ๆ เพื่อนๆ และนองๆ ที่ใหความชวยเหลือ และขอขอบพระคุณทุกทานที่มิไดกลาวมา ณ ที่นี้

สารบัญ

หนา บทคัดยอภาษาไทย ง บทคัดยอภาษาอังกฤษ จ กิตติกรรมประกาศ ฉ สารบัญภาพ ฌ บทที่ 1 บทนํา 1 ความเปนมาและความสําคัญของปญหา 1 ความมุงหมายและวัตถุประสงคของการศึกษา 1 สมมติฐานของการศึกษา 1 ขอบเขตของการศึกษา 2 ขั้นตอนของการศึกษา 3 เวลาที่ใชในการศึกษา 4 วิธีการศึกษา 4 แหลงขอมูล 5 อุปกรณที่ใชในการคนควา 5 คาใชจายทั้งหมดในการศกึษา 5 การเสนอผลงาน 5 2 เอกสารและผลงานที่เกี่ยวของ 6 ที่มาของแรงบันดาลใจ 6 สวนประกอบและหนาที่ตางๆของพืช 6 อิทธิพลของเรื่องราวที่ไดรับจากธรรมชาติ 12 ทฤษฎีศิลปะที่มีอิทธิพลตอการสรางสรรค 12 อิทธิพลงานศิลปกรรม 13 3 รูปแบบและวธีิการสรางสรรค 16 การวิเคราะหถึงขั้นตอนการสรางสรรคเปนผลงานศิลปะ 16 วิเคราะหแนวความคิดแรงบนัดาลใจและพฒันารูปแบบผลงานระยะแรก 18 วิเคราะหแนวความคิดแรงบนัดาลใจและพฒันารูปแบบผลงานระยะที่ 2 20 วิเคราะหแนวความคิดแรงบนัดาลใจและพฒันารูปแบบผลงานระยะที่ 3 23

บทที่ หนา 4 ขั้นตอนการสรางสรรค 32 ชุด “จินตภาพจากความรื่นรมย 1” 32 วัตถุดิบ 32 การเตรียมเนื้อดินปนและความรูทั่วไปเกีย่วกับเนื้อดินปน 33 ประเภทของเนื้อดินปน 33 การขึ้นรูป 33 การเผา 34 การเคลือบและสูตรเคลือบ 35 บรรยากาศในการเผา 37 เทคนิค 38 ชุด “จินตภาพจากความรื่นรมย 2” 38 วัตถุดิบ 39 ประเภทของเนื้อดินปน 39 การขึ้นรูป 41 การเผา 42 เทคนิค 43 ชุด “จินตภาพจากความรื่นรมย 3” 44 การขึ้นรูป 45 การเผา 46 การเคลือบและสูตรเคลือบ 46 การวิเคราะหการจัดวางและทัศนธาตุผลงานชุด “จินตภาพจากความรื่นรมย 1” 57 การวิเคราะหการจัดวางและทัศนธาตุผลงานชุด “จินตภาพจากความรื่นรมย 2” 57 การวิเคราะหการจัดวางและทัศนธาตุผลงานชุด “จินตภาพจากความรื่นรมย 3” 58 5 สรุปผลการสรางสรรค 60 บรรณานุกรม 63 ประวัติผูวจิัย 64

สารบัญภาพ

ภาพที ่ หนา 1 รากค้ําจุนหรือพูพอน 7 2 รากหายใจและรากที่มีลักษณะเปนหวัพองโต 7 3 ตนไทรยอยมรีากแบบค้ํายันลําตนและพืชอิงอาศัยที่มีรากอากาศ 8 4 รากหอยแขวนของเถาวัลยและรากโอบรัดของตนมะเดื่อ 8 5 ลําตนหลายรูปแบบ 9 6 ลักษณะใบของพืชหลากชนดิ 10 7 ลักษณะดอก ผลและเมล็ดแบบตาง ๆ 11 8 ตน ผล ใบ 14 9 เงาตนไม 15 10 แบบจําลอง 3 มิติ ชวงระยะแรก 19 11 แบบจําลอง 3 มิติ ชวงระยะที่ 2 20 12 แบบจําลอง 3 มิติ ชวงระยะที่ 2 (ตอ) 21 13 แบบจําลอง 3 มิติ ชวงระยะที่ 2 (ตอ) 22 14 แบบจําลอง 3 มิติ ชวงระยะที่ 2 (ตอ) 23 15 แบบจําลอง 3 มิติ ชวงระยะที่ 3 24 16 แบบจําลอง 3 มิติ ชวงระยะที่ 3(ตอ) 25 17 แบบจําลอง 3 มิติ ชวงระยะที่ 3(ตอ) 26 18 แบบจําลอง 3 มิติ ชวงระยะที่ 3(ตอ) 27 19 แบบจําลอง 3 มิติ “จินตภาพจากความรื่นรมย 1” 28 20 แบบจําลอง 3 มิติ “จินตภาพจากความรื่นรมย 2” 29 21 แสงเงาที่เกิดขึน้ในชิ้นงาน “จินตภาพจากความรื่นรมย 2” 29 22 แบบจําลอง 3 มิติ “จินตภาพจากความรื่นรมย 3” 30 23 การจัดวางสวนประกอบและความโปรงแสงของเนื้อดินที่เกิดขึ้นในชิน้งาน 31 24 ผลงานขณะเผาดิบ 35 25 สีเคลือบสูตรที่ 1 และ สูตรที่ 2 36 26 ผลงานขณะเผาเคลือบและหลังเผา 37 27 การเคลือบชิ้นงานชุด“จินตภาพจากความรื่นรมย 1” 38 28 การแยกสวนประกอบ 38

ภาพที ่ หนา 29 ผลงานสวนที่เปนรูปทรงภายใน 41 30 เครื่องมือและขั้นตอนการขึน้รูปผลงานสวนที่เปนรูปทรงภายใน 42 31 การเผารมควันโดยการกอผนังอิฐในเตาแกส 43 32 การเผารมควันกอนและหลงัเผา 44 33 การแยกสวนประกอบชุด “จินตภาพจากความรื่นรมย3” 44 34 ผลงานการขึ้นรูปแบบแผนและการขึ้นรูปแบบหลอ 45 35 สวนประกอบดานบนหลังเผาและความโปรงแสงของเนื้อดิน 45 36 สีเคลือบสูตรที่ 1 สูตรที่ 2 สูตรที่ 3 47 37 ผลงานสําเร็จชุด “จินตภาพจากความรื่นรมย 1” ดานหนา 48 38 ผลงานสําเร็จชุด “จินตภาพจากความรื่นรมย 1” ดานขาง 49 39 ผลงานสําเร็จชุด “จินตภาพจากความรื่นรมย 1” สวนรายละเอียด 50 40 ผลงานสําเร็จชุด “จินตภาพจากความรื่นรมย 2” ดานหนา 51 41 ผลงานสําเร็จชุด “จินตภาพจากความรื่นรมย 2” ดานขาง 52 42 ผลงานสําเร็จชุด “จินตภาพจากความรื่นรมย 2” สวนรายละเอียด 53 43 ผลงานสําเร็จชุด “จินตภาพจากความรื่นรมย 3” ดานหนา 54 44 ผลงานสําเร็จชุด “จินตภาพจากความรื่นรมย 3” ดานขาง 55 45 ผลงานสําเร็จชุด “จินตภาพจากความรื่นรมย 3” สวนรายละเอียด 56

บทท่ี 1

บทนํา

ความเปนมาและความสําคญัของปญหา (Statements and significance of the problems) พืชตาง ๆ คือส่ิงที่ธรรมชาติสรางขึ้น ลวนมีความจําเปนตอการดํารงอยูของชีวิตไมวาจะเปนพืชขนาดเล็กหรือตนไมขนาดใหญ ลวนถูกสรางใหมีหนาที่และมีผลตอสภาพแวดลอมทั้งปวง โดยสวนตัวของขาพเจา ตนไมและพืชสามารถชวยกลอมเกลาจิตใจใหออนโยน ประณีต ละมุนละไม และเกดิความสงบไดแมจะเปนตนไมเพียงตนเดียว ยามเมื่อไดเฝาดูแลการเติบโต เบงบาน แตกหนอ ออกดอก ออกผลก็สามารถทําใหเกดิความรื่นรมย สุนทรียได เปนความปติยนิดีที่เกิดขึ้นในจิตใจ ทําใหขาพเจาเกิดจินตนาการ จึงมีความสนใจที่จะสรางสรรคผลงานประติมากรรมเครื่องเคลือบดินเผาในรูปแบบกึ่งนามธรรม (Semi Abstract) ดวยแรงบันดาลใจจากพืช สวนตาง ๆ เชน กิ่งกาน ราก หัว ตา ใบ ลําตน และดอก มาใช เพื่อที่จะสะทอนใหเหน็ถึงความงาม ความมีชีวิตชวีา ความรื่นรมย เบิกบาน ในจติใจ ความมุงหมายและวัตถุประสงคของการศึกษา (Goal and objective) 1. เพื่อสรางสรรคผลงานศิลปะเครื่องเคลือบดินเผา ที่ใชความงามตามธรรมชาติจากพืชมาเปนแรงบันดาลใจในการสรางสรรค โดยคลี่คลาย ลดทอน บางสวนใหตอบสนองอารมณและแสดงความรูสึกที่ร่ืนรมยในมุมมองของผูศึกษา 2. เพื่อสรางสรรคผลงานตามจินตนาการและความประทับใจจากประสบการณชีวิตและจินตนาการในรูปแบบงานประติมากรรมเครื่องเคลือบดินเผารูปแบบกึ่งนามธรรม เพื่อส่ืออารมณความรูสึกภายในของผูศึกษา สมมติฐานของการศึกษา (Hypothesis to be tested) จากที่มาและความสําคัญของการสรางสรรค คาดวาผลงานประติมากรรมเครื่องเคลือบดินเผาในครั้งนี้จะสะทอนภาพจากอารมณ ความรูสึกสวนตัวของขาพเจาที่มีตอธรรมชาติโดยส่ือ

1

2

ผานรูปทรงของพืช ตนไม ที่มีความอุดมสมบูรณ มีชีวิตชีวา ร่ืนรมย เบิกบาน จากประสบการณและจินตนาการสวนตัวในการสรางสรรคผลงาน ถายทอดสิ่งที่ขาพเจารูสึกในจิตใจ ขอบเขตของการศึกษา (Scope or delimitation of the study) การดําเนินการสรางสรรคผลงานประติมากรรมเครื่องเคลือบดินเผาแบบลอยตัว มีขอบเขตของโครงการดังนี้ 1. แนวความคิดในการสรางสรรคจากรูปทรงของพืชที่มีอยูในธรรมชาติ ตนไม ที่มีความงาม ความอุดมสมบูรณ แสดงถึงความมีชีวิต ที่สงผลตอสภาพจิตใจ อารมณ ความรูสึกร่ืนรมยของขาพเจา 2. ศึกษาขั้นตอนกระบวนการแนวความคดิ และ ผลงานศิลปะที่มีความเกี่ยวของ 3. รูปแบบของผลงานเปนแบบลอยตัวจํานวน 3 ชุด วิเคราะหผลงานประติมากรรมการสรางสรรครูปทรงที่ประกอบดวยองคประกอบทางศิลปะที่มีความสัมพันธกับแนวความคิด เนื้อหา อารมณ วัสดุและเทคนิคทางเครื่องเคลือบดินเผา พรอมเอกสารประกอบการศึกษาวิเคราะห 4. เนื้อดินปนที่ใชในโครงการ 4.1 เนื้อดินเอิทเทนแวร (Earthenware) เผาที่อุณหภูมิ 1,060 องศาเซลเซียส ซ่ึงจะมีลักษณะสีเหลืองนวลออน โดยเนื้อดินมีอัตราสวนผสมจากดินดําสุราษฎร รอยละ 40 ดินขาวลําปาง รอยละ 38 ทราย รอยละ 16 ขี้เถาแกลบ รอยละ 2 ดินเชื้อ รอยละ 4 4.2 เนื้อดินโบนไชนา (Bone China) ผลิตภัณฑโบนไชนา เปนเครื่องปนดินเผาประเภทที่เนื้อดินไมมีความพรุนตัว มีความแข็งแกรง น้ําและของเหลวไมสามารถไหลซึมผานได เนื้อดินละเอียด แข็งแรงมีลักษณะเปนเหมือนแกว เนื้อดินสีขาวและโปรงแสง (Transparent) เผาในอุณหภูมิ 1,250 องศาเซลเซียสขึ้นไป บางครั้งถูกจัดอยูในพวกเดียวกับซอฟทปอรสเลน (Soft Porcelain) เพราะอุณหภูมิการเผาอยูในระดับเดียวกัน เนื้อดินมีสวนผสมของกระดูกสัตวในปริมาณสูงประกอบไปดวย หินฟนมา (Potassium Feldspar) หินเขี้ยวหนุมาน (SiO2) ดินเกาลิน (Kaolin) และวัตถุดิบอื่นๆ 4.3 เนื้อดินโบนไชนา ผสมเยื่อกระดาษ เผาที่อุณหภูม ิ 1,060 องศาเซลเซียสวัตถุประสงคที่ใชในงานการสรางสรรคเพื่อประโยชน 2 แนวทางดวยกันคือ 4.3.1 เพื่อเปนการนําสวนหนึ่งของธรรมชาติกลับมาใชเปนสวนหนึ่งของการสรางสรรค

3

4.3.2 เพื่อใหมีความเหมาะสมกับผลงานในบางสวนที่มีโครงสรางยากตอการขึ้นรูปชิ้นงานประติมากรรมแบบลอยตัว 5. แนวทางการทดลองเคลือบ เคลือบที่ใชในการสรางสรรคงานจะเปนเคลือบไฟต่ํา มีโทนสีสดใส เชน สีที่ใหความรูสึกคลายยอดออนของใบไม ดอกไม ตนไม เพื่อแสดงความชุมชื้น ความรื่นรมย เบิกบานและเคลือบกึ่งมันกึ่งดาน (Semi Matt Glaze) ผิวเคลือบเปนตัวเสริมความรูสึกของรูปทรงเพื่อใหผลงานแสดงออกใหตรงตามแนวความคิดในการสรางสรรค โครงการนี้ผูศึกษาใชเคลือบที่เคยทดลองมาแลว โดยทดลองหาสูตรตั้งตน และเพิ่มสารใหสี (Oxide) เพื่อใหไดสีตามตองการ เผาที่อุณหภูมิ 1,060 องศาเซลเซียส 6. อุณหภูมิและบรรยากาศในการเผา 6.1 เผาดิบที่อุณหภูมิ 850 องศาเซลเซียส บรรยากาศแบบสันดาปสมบูรณ (Oxidation Firing) 6.2 เผาเคลือบที่อุณหภูม ิ 1,060 องศาเซลเซียสบรรยากาศแบบสันดาปสมบูรณ (Oxidation Firing) 6.3 เผารมควัน (Smoke Firing) ที่อุณหภูมิ 1,000 องศาเซลเซียส 6.4 เผาแกรงโดยไมมีเคลือบที่อุณหภูมิ 1,250 องศาเซลเซียสในบรรยากาศแบบสันดาปสมบูรณ(Oxidation Firing) ขั้นตอนของการศึกษา (Process of the study) 1. กําหนดขอบเขตของปญหา 2. ศึกษาขอมูลที่เกี่ยวของกับการศึกษา 2.1 หาขอมูลภาคเอกสารจากแหลงขอมูลตางๆ 2.2 หาขอมูลจากงานวจิยัที่เคยมกีารศึกษามากอนที่มีความเกีย่วของกับโครงการวิทยานพินธ 3. เก็บรวบรวมขอมูลการศึกษา 4. วิเคราะหขอมูลและแนวทางความคิดเพื่อความชัดเจนในการสรางสรรคผลงานประติมากรรมเครื่องเคลือบดินเผา 5. สรางสรรคและพัฒนารูปแบบตามแนวความคิดออกมาเปนแบบราง 2 มิติ และพัฒนาสรางแบบจําลอง 3 มิติ

4

6. เสนอแบบรางและแบบจําลองตออาจารยทีป่รึกษาโครงการเพื่อแกไขขอบกพรองและพัฒนาดานแนวการสรางสรรคของรูปแบบเปนระยะ 7. หาอัตราสวนผสมของเนื้อดินโดยคัดเลือกจากที่เคยทดลองมาแลว นาํสูตรที่มีความเหมาะสมมาใช 8. ศึกษาทดลองหาอัตราสวนผสมของน้ําเคลือบจากสวนผสมของวัตถุดิบและ สารใหสีตางๆ 9. ปฏิบัติการสรางผลงานจริง โดยการขยายจากแบบจําลอง 3 มิติ 10. วิเคราะหทัศนธาตุ ตามหลักองคประกอบทางศิลปะ ของการสรางสรรค งานประติมากรรมเครื่องเคลือบดินเผา 12. สรุปผลงานการสรางสรรค ปญหาและอุปสรรคในการดําเนินโครงการ 13. นําเสนอผลงานประติมากรรมเครื่องเคลือบดินเผา ทั้งภาคการสรางสรรค และภาคเอกสารประกอบการวิเคราะห เวลาที่ใชในการศึกษา เร่ิมงานตั้งแตเดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2547 และเสนอขอสอบในเดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2548 วิธีการศึกษา (Method of the Study) จากที่กําหนดขอบเขตของการศึกษาและรวบรวมขอมูลไดแบงออกเปนสวน ๆ ดังนี้ 1. ศึกษาและรวบรวมขอมูลตาง ๆ จากเอกสารและสื่อตางๆที่เกี่ยวของ เพื่อประมวลแนวความคิดในการสรางสรรค ศึกษาผลงานของศิลปนที่มีแนวทางการสรางสรรคและแนวความคิด ที่มีเอกลักษณคลายคลึงกันเพื่อเปนแนวทางในการคนควา และพัฒนาผลงาน 2. ดานรูปแบบของการสรางสรรคโดยศึกษารูปทรง (form) ของพืชชนดิตาง ๆ เชน รูปทรงของพืชไมเล้ือย พืชเกาะ พืชคลุมดนิ กาฝาก โดยใชสวนตาง ๆ ของพืช เชน กิ่งกาน ราก หวั ตา ใบ ลําตน และดอก ใชพืน้ผิว เสน และจังหวะในการจัดวางทีแ่สดงความเคลื่อนไหว สงผลตออารมณ ความรูสึกตามวัตถุประสงคในการสรางสรรค 3. ทดลองเนื้อดิน ที่นํามาใชในการขึ้นรูปเพื่อหาสูตรเนื้อดินที่มีความเหมาะสม 4. ทดลองหาสูตรน้ําเคลือบที่นํามาใชกับงานใหมีความเหมาะสมตามวัตถุประสงค

5

5. ออกแบบราง 2 มิติและ 3 มิติ เพื่อคนหารูปแบบของผลงานที่สามารถสื่อส่ิงที่ตองการตามวตัถุประสงค 6. วิเคราะหและเลือกรูปแบบเพื่อหารูปแบบและปรับปรุงแกไขปญหาทีเ่กิดขึ้น 7. สรางสรรคผลงานจริงจากรปูแบบที่เลือก 8. สรุปรวบรวมเปนเอกสารและนําเสนอผลงาน แหลงขอมูล 1. อินเตอรเนต วารสาร หนังสือตางๆ ที่เกี่ยวของในการสรางสรรคผลงาน 2. สังเกตรูปทรง พื้นผิว เสน จังหวะ ทิศทาง สีสัน ตามธรรมชาติจากพชืพันธุตางๆ อุปกรณท่ีใชในการคนควา 1. กลองถายภาพ 2. เครื่องคอมพิวเตอร 3. หนังสือที่ใชในการคนควาและอางอิง 4. อุปกรณการทํางานในการสรางสรรค งานเครื่องเคลือบดินเผา เชน อุปกรณในการขึ้นรูปชิ้นงาน อุปกรณในการเคลือบ และการเผา คาใชจายท้ังหมดในการศึกษา (โดยประมาณ) ประมาณ 50,000 บาท การเสนอผลงาน 1. เอกสารประกอบการสรางสรรคพรอมภาพประกอบ 2. ผลงานสรางสรรค ไดแก ผลงานประติมากรรมเครื่องเคลือบดินเผาและการจัดแสดงเผยแพรผลงาน

บทท่ี 2

เอกสารและผลงานที่เก่ียวของ

ท่ีมาของแรงบนัดาลใจ ขาพเจาเชื่อวามนุษยเปนเพยีงเสนใยหนึ่งของขายใยที่ซับซอนในบรรดาสิ่งมีชีวิตทั้งหลายในโลก ชีวิตทุกชวีิตที่อาศัยอยูในโลกมีความผูกพันกับตนไม ไมวาจะเปนสัตวขนาดเลก็ใชตนไมเปนที่พึ่ง ที่อยูอาศัย เติบโตภายใตรมเงา เปนแหลงอาหารมีทั้งแมลง นก สัตวเล้ือยคลาน สัตวสะเทินบกสะเทินน้ํา นอกเหนือจากสตัวตาง ๆ แลว ยังมีพวกพืชอ่ืน ๆ ที่อาศัยใตรมเงาไมใหญอีก เชน เถาวลัย หญา เฟน มอส เห็ด ทกุชีวิตดํารงอยูดวยความสมดลุและพึ่งพาอาศัยกัน ขาพเจาเปนบุคคลหนึง่ประทับใจในความงามของตนไม ความมีชีวิต และความหลากหลายของพืชแตละชนิด นอกเหนือไปจากนี้บรรยากาศของธรรมชาติ จังหวะที่เกิดขึ้นของตนไมไหว เมื่อลมพัดใบไมที่รวงหลน ลําแสงของพระอาทิตยทีส่องผานใบไมกิ่งไมตกกระทบสูพื้น จากสิ่งตาง ๆ เหลานี้ลวนเปนภาพแหงความประทับใจ และกลายมาเปนขอมลูพื้นฐานเบื้องตน ผสมผสานอารมณ และจินตนาการสวนตัว ซ่ึงเปนความรูสึกภายในที่ทําใหขาพเจาตองการแสดงออกทางผลงานศิลปะ ในการสรางสรรคคร้ังนี้ ขาพเจาใชประสบการณความรูสึกที่มีตอพืชที่พบเห็น มาเปนแรงบนัดาลใจในการสรางสรรคดังนั้น จึงเลือกพืชเฉพาะบางชนิด มาเปนตัวอยางเทานั้น ตนไมที่พบเห็นโดยทัว่ไปประกอบดวย ราก ลําตน ใบ ดอก ผลและเมล็ด แตละสวน ทําหนาที่แตกตางกันอีกทั้งยังมีรูปรางตางกันขึ้นอยูกับสายพนัธุสภาพแวดลอมและภูมิอากาศ สวนประกอบและหนาท่ีตาง ๆ ของพชื สวนประกอบที่เรียกวา เซลล เปนหนวยเล็ก ๆ ที่เราไมสามารถมองเห็นไดดวยตาเปลา ไมวาจะเปนพชืหรือสัตวตางก็ประกอบขึ้นจากเซลล ซ่ึงจํานวนของเซลลในพืชมีมากนอยตางกัน มีทั้งพืชช้ันต่ําทีม่ีเพียงเซลลเดยีว เชน พวกสาหราย แบคทีเรีย และพืชยืนตนที่มีเปนพันลานเซลล รูปรางของเซลลก็แตกตางกันขึ้นอยูกับวา เปนเซลลของพืชชนิดไหน อยูสวนไหนของตน เชน เซลลของรากมีหนาที่ดดูซึมน้ําและแรธาตุจากดิน รากจึงมีหนาทีส่งปอนสารอาหารและยึดเกาะ สวนเซลลใบทําหนาที่สรางน้ําตาลจากแสงอาทิตยคารบอนไดออกไซดและน้ํา หรือที่เรารูจักกันวา

6

7

กระบวนการสงัเคราะหแสง ซ่ึงผลพลอยไดจากกระบวนการนี้ก็คือออกซิเจน ออกซิเจนนี้เองที่ทําใหสัตวและมนุษยมีชีวิตรอดอยูได นอกจากนี้ยังมเีซลลอ่ืน ๆ ที่ทําหนาที่ตาง ๆ กันไป เซลลจึงเปนจึงเปนจดุเริ่มตนของสรรพสิ่งทั้งปวง เปนจุดเริ่มของชวีิต เซลลจึงเปนสิ่งหนึ่งที่ขาพเจานํามาเปนสัญลักษณของชีวิต โดยการแทนคาดวย การจุด สวนของราก รากพืชสวนใหญเจริญลงสูพื้นดินเพื่อดูดน้ําและค้ําจนุลําตนแตรากพืชบางชนิดไมเจริญลงสูดินแตกลับมีการปรับตัวใหเขากับสิ่งแวดลอมที่ผิดปกติ ดวยวิธีการที่นาสนใจหลายวิธี ดังภาพประกอบตอไปนี ้

ภาพที่ 1 รากค้ําจุนหรือพูพอน ที่มา : ถายภาพโดยผูศึกษา สถานที่ อุทยานแหงชาติ เขาใหญ ภาพที่ 2 รากหายใจและรากที่มีลักษณะเปนหัวพองโต ที่มา : ถายภาพโดยผูศึกษา สถานที่ มหาวิทยาลัยศิลปากร จ.นครปฐม

8

ภาพที่ 3 ตนไทรยอยมีรากแบบค้ํายันลําตนและพืชอิงอาศัยที่มีรากอากาศ ที่มา : ถายภาพโดยผูศึกษา สถานที่ มหาวิทยาลัยศิลปากร จ.นครปฐม ภาพที่ 4 รากหอยแขวนของเถาวัลยและรากโอบรัดของตนมะเดื่อ ที่มา : ปเตอร ฟารบ, ปา, หนังสือชุดธรรมชาติของ ไลฟ แปลโดย นิยม เรียงจันทร, สุรจิต วรรณจนัทร และสมศักดิ์ แสนสุข. (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพไทยวัฒนาพานิช, 2526), 82.

9

สวนของลําตน หนาที่หลักของลําตนก็คือ การชูใบไวในอากาศใหไดรับแสงอาทติยเพื่อการสังเคราะหแสง แตในขณะที่ทําหนาที่นี้ ลําตนก็ปรากฏใหเราเห็นหลายรูปแบบ หลายลักษณะและทาํหนาที่ลําดับรองลงมาอีก ตนไมหลายชนิดงอกใบออกมาจากลําตนโดยทิ้งรองบากเปนเกลียวรอบลําตนตรงที่ใบแกหลุดออกไป สวนใบของตนปาลมนั้นเมื่อหลุดออกไปแลวจะทิ้งรองรอยเปนวงแหวนรอบลําตนที่ราบเรียบเปนระยะ ๆ หรือบางลําตนกเ็ปนปุมปมลักษณะคลายหนาม เหมือนรองรอยโคนของใบ รูปรางประหลาด ๆ ของตนไมตามภาพที่ปรากฏนั้น เปนสิ่งที่เกิดขึ้นทางกรรมพันธุ นอกเหนือจากนี้ลําตนก็ถูกบังคับดวยสภาพแวดลอมดวยเชนกนั ภาพที่ 5 ลําตนหลายรูปแบบ ที่มา : ถายภาพโดยผูศึกษา สถานที่ มหาวิทยาลัยศิลปากร จ.นครปฐม

สวนของใบ เมื่อ 2,000 ปมาแลว กวีชาวโรมันชื่อ เวอรจิล ไดเขียนรําพันถึงตนโอกไว

วา "มันใหล้ินแกลม" ใบไมแตละชนิดดูจะมวีิธีโบกสบัดเฉพาะของมันเองในสายลม ทัง้นี้ก็แลวแตวา ใบของมันจะมรูีปรางอยางไรและติดอยูกับกิ่งกานในลักษณะอยางไร ตลอดจนความโอนออนของกิ่งกานนั่นเอง(ปเตอร ฟารบ 2526 : 101) มวลไมทั้งหลายหลังจากววิฒันาการมาเปนเวลานาน จงึสามารถปรับตัวใหทนตอความแหงแลงดวยการผลัดใบ เพื่อคงความชื้นไวในเซลลของรากลําตนและกิ่งจนกวาจะถึงชวงฤดูทีม่ีน้ําอุดมสมบูรณ ใบออนก็แทงยอดเหมือนชีวิตใหม

10

ใบออนจะมวนอยูอยางเรียบรอยราวกับรมชูชีพและมันจะคลี่ออกเมื่อถึงเวลา ใบออนของพืชแตละชนิดมีความแตกตางกัน บางอยางทบกันเหมือนพดั บางอยางมวนตัวเหมือนบุหร่ี แลวแตชนดิของมัน อยางไรกต็ามใบไมทุกชนิดจะสามารถคลี่ออกมาอยูในสภาวะปกติได เมื่อถึงเวลาเหมาะสม

จากสิ่งตางขางตนทําใหขาพเจาเห็นจังหวะที่เกิดขึ้น ของใบออนที่มขีนาดเล็กตอเนื่องไปสูใบแกที่มขีนาดใหญกวาเปนความงามที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติขาพเจาไดใช จังหวะและเสนโคงของขอบใบมาเปนแนวทางการสรางสรรค ภาพที่ 6 ลักษณะใบของพืชหลากชนิด ที่มา : ถายภาพโดยผูศึกษา

11

สวนของ ดอกผลและเมล็ด พืชก็เหมือนสิ่งมีชีวิตทั่ว ๆ ไป ที่มีการสืบพันธุเพื่อสรางพืชตนใหมแตพืชไมสามารถเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปอีกที่หนึง่ไดจึงตองมวีธีิการแพรกระจายเมล็ดแบบตาง ๆ บางชนิดตกลงดนิ บางชนิดปลิวไปในอากาศหรือการอาศัยสัตวนําพาไป พืชหลายชนดิมีดอก ผลที่สวยงามมีกล่ินหอมเพื่อดึงดูดนก สัตวตางๆ สําหรับคนทั่วไป ดอกไมเปนตัวแทน ของความออนละมุนแทนความรูสึกดีๆในโอกาสตางๆ ในความรูสึกของขาพเจาแลวดอกไมเปนเสมอืนรางวัลจากธรรมชาติไมวาจะเปนรูปราง สีสันที่สวยงามเสนและจังหวะยังเปนความงามที่ลงตัวจนไมสามารถอธิบายออกมาเปนคําพูดหรือขอความได ภาพที่ 7 ลักษณะดอก ผลและเมล็ดแบบตางๆ ที่มา : ถายภาพโดยผูศึกษา

12

อิทธิพลของเรื่องราวที่ไดรับจากธรรมชาต ิ

จากการศึกษาและสังเกตรูปทรงของพืชในธรรมชาติที่มี ความหลากหลายและมหีนาที่การทํางานตามสวนตางๆ ดังที่ไดกลาวมาแลวขางตน ทําใหขาพเจาเกิดจนิตนาการ จากพืชหรือตนไมตนหนึ่งที่เราเห็นวามนัยืนสงบนิ่งอยูนั้นแทจริงแลวมันกําลังทํางานตามหนาทีข่องมันอยางแข็งขัน การเคลื่อนไหวของทอลําเลียงอาหาร การแพรกระจายของรากที่อยูใตดนิ การแพรขยายพนัธุของดอกผลและเมล็ด ซ่ึงในเมลด็พืชแหง ๆ ที่เราเห็นถึง ความแหงแลง แทจริงแลงมนักําลังรอเวลาที่เหมาะสมและพรอมที่จะเติบโต มีชีวิตใหมตอไป ซากพพุังของทอนไมไดรับการยอยสลายจากสิ่งหนึ่ง กอใหเกดิสมดุลของธรรมชาติ ส่ิงนี้ลวนเปนแรงบันดาลใจใหแกขาพเจาในการสรางงานศิลปะครั้งนี ้ ทฤษฎีศิลปะที่มีอิทธิพลตอการสรางสรรค ศิลปะคือการเปนตัวแทน (ของชีวิต) (Art as Representation) อาริสโตเติล (Aristotle) ใหทัศนะการเลียนแบบในศลิปะวา ศิลปนอาจเลียนแบบรูปทรง (Form) ที่เปนกลางโดยทั่วไป เพื่อแสดงแกนสารที่มีอยูในสิ่งตางๆ มากกวาจะเลียนแบบลักษณะเฉพาะทางกายภาพของสิ่งนั้น ศิลปนแสดงรูปทรง แตไมไดแสดงสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะ ศิลปนมองทะลุเขาไปถึงลักษณะเฉพาะของสิง่เพื่อแสดงรูปทรงของสิ่งนั้น จิตรกรจะแสดงบุคลิกภาพและอุปนิสัยของผูที่นั่งเปนแบบออกมาในงานมากกวาจะแสดงรูปลักษณะภายนอกของแบบที่ปรากฏแกตาในขณะนัน้ และในทํานองเดยีวกันศิลปนทั้งหลายตางพยายามคนหารูปทรงที่เปนแกนแทของสิ่งตาง ๆ รูปทรง คือ ฐานของความจริงที่ตางจากความเปนลักษณะสวนตัว โดยเฉพาะของสิ่งตาง ๆ รูปทรงของมนุษย คือ ความจริงที่ตางจากรูปลักษณะของ นายดํา นายขาว แตศลิปนก็จําตองเลียนแบบจาก นายดํา นายขาว เพื่อที่จะไดรูป ทรงที่เปนแกน หรือความจรงิของมนุษย ศิลปนจึงไมใชการเลียนแบบธรรมชาติโดยตรง แตเปนตัวแทนหรือการแสดงออกของความจริงในธรรมชาติ (ชลูด นิ่มเสมอ 2542 : 5) จอหน ดวิอ้ี ( John Dewey) กลาววา " ศิลปะจะสื่อคณุคาไดตองมปีจจัยคือ ความคิดสรางสรรคความเปนไปไดในการสรางผลงานและความพรอมของผูดูที่จะใชจินตนาการ เพื่อรับรูคุณคาในสุนทรียศิลปะคือประสบการณ (Art as Experience) ประสบการณคือการมชีีวิตที่สัมพันธกับสิ่งแวดลอม การมปีฏิกิริยากับสิ่งแวดลอมทําใหเรามีความคิดและอารมณซ่ึงเปนประสบการณ เรามีประสบการณมากมายในชีวิตประจําวนั แตเปนประสบการณธรรมดา ไมเปนแกนสาร เราลืมมันไดงาย แตบางครั้งเรามีประสบการณที่สําคัญนาพอใจเปนพิเศษ เราจะจําประสบการณนัน้ไดอยางฝงใจ แบบนี้เรียกวา ประสบการณแท ประสบการณแทนัน้มีระเบียบ มีเอกภาพ ทุกสวนทุก

13

ตอนมีความหมาย มีความสําคัญ มีอารมณที่เดนชัด มีโครงสรางตลอดทั่วประสบการณนัน้ เชน ความกดดัน ความออนหวานนุมนวล และความกลวั เปนตน(ชลูด นิ่มเสมอ 2542 : 13) จากทฤษฎีศิลปะ ทําใหขาพเจาสรุปไดวา ผูสรางงานศิลปะยอมแสดงออกดวยผลงานที่มีสัญลักษณอันบงบอกถึงบุคลิกภาพของความรูสึกของตนอยางมีปจเจกภาพ ผลงานจะตองแสดงถงึความเด็ดเดี่ยวกลาที่จะแสดงออกตามอารมณ ความรูสึก มุมมอง ซ่ึงจะตองเกิดจากความผูกพันกับส่ิงที่ตองการถายทอดออกมา ดังนั้นภูมิหลังจึงมาจากประสบการณชีวิต มีอิทธิพลตอการแสดงออก โดยเฉพาะในงานสรางสรรคงานศิลปะซ่ึงเปน การถายทอดอารมณความรูสึกในใจของผูสรางใหผูดูสัมผัสได และเขาถึงประสบการณของผูสรางสรรคผลงาน จึงอาจนับไดวางานนั้นประสบความสําเร็จ ดังนั้น ผูสรางสรรคงานศิลปะไดดี จะตองมีความรู ความเขาใจ ตอสภาพสิ่งตางๆ อยาง ถองแทเสียกอน การใชทัศนธาตุทางศิลปะโดยไมคํานึงถึงความเปนจริงตามธรรมชาติทั่วไป แตใหความสําคัญตามความรูสึกและประสบการณของผูสรางงานโดยตรง เพราะผูสรางสรรคงานศิลปะแสวงหาความจริงภายในและพยายามถายทอดออกมาเปนรูปแบบอันแอบแฝงดวยจินตนาการการแสดงออกของผูสรางสรรคงานศิลปะ ผูสรางควรมีทัศนะที่ประกอบดวย 1. ความรูความเขาใจ หรือประสบการณในสิ่งที่ตองการแสดงออก 2. ความรูจักสกัด ตัดทอนและเลือกเอาสวนที่จําเปนมาใชในการสรางสรรค 3. การเขาใจสรรหาสื่อเพื่อใชในการแสดงออกอยางเหมาะสมใหตรงตามจุดมุงหมาย 4. การแสดงออกที่เต็มไปดวยจินตนาการและการสรางสรรค ดังนั้นผูทํางานศิลปะจึงตองมีความเขาใจในธรรมชาติ สภาพแวดลอม เพื่อที่จะนํามาเปนสื่อในการแสดงออกเปนสัญลักษณแทนอารมณความรูสึกและความคิดของผูสรางสรรค อิทธิพลงานศลิปกรรม ผลงานศิลปกรรมที่มีอิทธิพลตอการศึกษา จุมพล อุทโยภาศ เปนศิลปนที่สรางสรรคผลงานประติมากรรมที่แสดงเนื้อหาของชีวิตธรรมชาติโดยตลอดดวยกรรมวิธีการแกะไม ประสบการณจากความประทับใจในธรรมชาติของตนไม เมล็ดพืชที่กําลังเจริญพันธุเปนแนวทางหลักในการสรางสรรค ผลงานจะเปนรูปทรงเมล็ดที่มีความสมบูรณกําลังงอกงาม แตกหนอ ออกราก แสดงการเจริญเติบโต รูปทรงของผลงานในชวงแรกมีความใกลเคียงกับธรรมชาติ รูปแบบของเมล็ดพืชที่นํามาแสดงออกจะมีหลายสายพันธุมีความแตกตางทั้งรูปทรง และการเจริญเติบโต ประติมากรรมแกะไมของจุมพล ไดนําเสนอแงมุมตาง ๆ ของการเจริญเติบโตเมล็ดพืชในธรรมชาติอยางตอเนื่อง เปนมุมมองอีกมุมที่นาสนใจ ผลงานแตละชุดจะมีความเปลี่ยนแปลง

14

โดยเฉพาะการนํารูปเรขาคณิตเขามาประกอบในงาน การใชวัสดุพน แตการแสดงออกเกี่ยวอยูในแนวเรื่องของการเจริญพันธุของสิ่งมีชีวิตใหมที่กําลังเกิดขึ้น

ภาพที่ 8 ตน ผล ใบ ที่มา : จุมพล อุทโยภาศ, “ตน ผล ใบ,แกะไม,”ใน ศิลปกรรมทุนสรางสรรคศิลป พีระศรี ประจําป 2544, การแสดงศิลปกรรมทุนสรางสรรคศิลป พีระศรี ประจําป 2544 ณ หอศิลป มหาวิทยาลยั ศิลปากร วังทาพระ, 1 - 15 สิงหาคม 2545 (กรุงเทพมหานคร : ม.ป.ท.,2545 ), 64. พิชิต ตั้งเจริญ เปนศิลปนที่ทํางานจิตรกรรมคนหนึ่งที่มีความเปนเอกลักษณแสดงเนื้อหาของสิ่งรอบตัวศิลปน ขาพเจาสนใจในงานของพิชิต ตั้งเจริญ ซ่ึงเปนผลงานที่เขียนขึ้นในป 2546 ช่ือ “เงาตนไม” เปนผลงานที่มีองคประกอบเรียบงาย การใชพื้นที่วาง การเลือกรูปทรงที่มา

15

แสดงออกที่ส่ือถึงตนไม แตศิลปนก็ไมไดเขียนตนไมโดยตรง เขียนเงาของตนไมที่ตกทอดลงพื้น จะเห็นใบที่มีสีเขียวเขามาในภาพบางเปนสวนนอย ในภาพใหความรูสึกถึงความอบอุน ความสงบ ยามเมื่ออยูใตรมเงาไม การประสานสัมพันธของสีกับรูปทรง ความออนแกของน้ําหนัก และการใชองคประกอบที่เด็ดขาด เรียบงาย ไมซับซอน ถายทอดความงามของธรรมชาติไดเปนอยางดี

ภาพที่ 9 เงาตนไม ที่มา : พิชิต ตั้งเจริญ, “เงาตนไม, สีน้ํามัน,” ใน ความวาง, การแสดงผลงานศิลปกรรม ของ นนทิวรรธน จันทนะผะลนิ รวมกับพิชิต ตั้งเจริญ ณ หอศิลปมหาวิทยาลัยศิลปากร วังทาพระ, 24 มิ.ย. – 15 ก.ค. 2546 (กรุงเทพมหานคร : บริษัท กูด วลิเพรส ประเทศไทย, 2546), 40.

บทท่ี 3

รูปแบบและวธีิการสรางสรรค

การวิเคราะหถึงขั้นตอนการสรางสรรคเปนผลงานศิลปะ โครงสรางสวนที่เปนเนื้อหา (Content) หรือโครงสรางนามธรรม เปนสวนของแนว ความคิด เปนสิ่งสําคัญในการกําหนดรูปแบบ เปนลักษณะจติวิสัยของศิลปน เปนความรูสึกสวนตัว เนื้อหาแนวทางการสรางสรรคของขาพเจาเปนการนําความประทับใจ ความพอใจจากประสบการณสวนตัว โดยไดแรงบันดาลใจมาจาก รูปทรงในธรรมชาติ ในลักษณะที่ใหความรูสึกถึงความมีชีวิต การเติบโต การแตกหนอ โดยไมเนนรูปทรงจากความเปนจริงตามธรรมชาติ จากเนื้อหาที่เปนนามธรรม ขาพเจาตองการถายทอดจินตนาการใหเกิดเปนรูปธรรม เพื่อแสดงถึงความคิดจินตนาการและความรูสึกของการเติบโต ซ่ึงในการทํางานของขาพเจาไดเลือกรูปทรงที่มีการเชื่อมตอกันของมวลปริมาตร ความเปนกลุมกอน การเชื่อมโยง ใชเสนโคงที่มีความตอเนื่องกันในเสนรอบนอก การเรียงตัวและการจัดวางมีทั้งที่เปนอิสระ เปนกลุม และเปนเสนโคงตอเนื่องกัน ขึ้นอยูกับรูปทรง ขนาด การซ้ํา พื้นผิวในบางจุดเรียบตึงอิ่ม เพื่อแสดงถึงความสมบูรณ ในการสรางสรรคผลงานของขาพเจาเลือกใชดินชนิดตางๆ ที่มีคุณสมบัติแตกตางกันมาแทนคาถึงความรูสึกและหนาที่ตางๆ ของงานเชน เนื้อดินที่มีความโปรงแสง เพื่อใหความรูสึกถึงยอดออน แสดงความมีชีวิตของพืชที่มีความซับซอนอยูภายใน ทัศนธาตุ เปนสื่อสุนทรียภาพที่สําคัญ หากผูสรางสรรคมีความเขาใจอยางถองแทก็สามารถนําทัศนธาตุเหลานั้นมาประกอบกันเปนรูปทรงขึ้น เพื่อส่ือความหมายตามเนื้อหาและแนวความคิดที่เปนจุดหมายของตนไดอยางสมบูรณ

เสน คือส่ิงที่เชื่อมโยงระหวางจุดสองจุด หรือจุดที่ตอเนื่องกันไมส้ินสุด หรือกลาวอีกนัยหนึ่ง “เสน คือ ขอบเขตหรือริมของมวล ขอบของเสนรอบนอก ขอบของพื้นที่” ซ่ึงแนะถึงขอบเขตหรือเขตจํากัดของรูปรางหรือวัตถุนั้น เสนจะเปนตัวสรุปใหวา จุดหมายปลายทางจะไปทางใด เพราะเสนมีบทบาทเกี่ยวของในการใหความหมายและความรูสึก

โครงสรางของเสนที่นํามาใชการสรางสรรครูปทรงในชิ้นงานของขาพเจาสวนใหญเปนเสนโคงเปนเสนรอบนอกที่บรรจบกันใหเปนรูปทรงอิสระ (Free Form) ซ่ึงใหความรูสึกสบาย เปลี่ยนแปลง อ่ิมเอิบ มีความเคลื่อนไหล มวนบิดตัวของเสนที่เปนอิสระ เกิดความรูสึกเคลื่อนไหว

16

17

อยางชา ๆ เสนลักษณะนี้จะใหความกลมกลืนในการเปลี่ยนทิศทางของรูปทรงจะเห็นไดเสมอในสิ่งที่เปนธรรมชาติ เสนที่มีความสําคัญอีกเสนหนึ่งคือ เสนโครงสราง (Structure Line) เปนเสนที่มองไมเห็นดวยตา เปนเสนในจินตนาการที่ผูดูจะรูสึกหรือปะติดปะตอเชื่อมโยงจากจดุหนึง่ไปอีกจุดหนึง่ เสนชนิดนี้เดินทางดวยความรูสึก ไมใชดวยการเหน็ เปนเสนที่มีความสําคัญมากในทางศิลปะ พลังอํานาจในงานศิลปะที่จะเคลือ่นไหว มั่นคง หยดุนิ่ง ผอนคลาย หรือตงึเครียด ก็อยูทีเ่สนโครงสรางหรือเสนภายในที่มองไมเหน็นี ้

รูปทรง การใชรูปทรงในการสรางสรรคผลงานของขาพเจา เพื่อส่ือความหมายของส่ิงมีชีวิต รูปทรงที่มีอยูในธรรมชาติ ที่ใหความรูสึก อวบอิ่ม และมชีีวิต ประกอบกับรูปทรงที่ ใหความรูสึกแหงเฉา ไรชีวิต ซ่ึงจะชวยใหเกดิผลในทางคุณลักษณะของความแตกตางของรูปทรง การประกอบกันทัง้สองของ รูปทรงที่มีขนาดตางกัน ตลอดจนความหมาย ตามแนวเรื่องที่แสดงออก

พื้นผิว ในผลงานของขาพเจา การใชพื้นผิว เปนตัวกําหนดใหรูปทรงนั้นมีความหมาย ลักษณะของความเปนพืน้ผิวที่หยาบแข็ง ขรุขระ แหง กรอบ เปนพืน้ผิวที่แสดงความรูสึกไรชีวติ พื้นผิวที่เรียบ นุมนวล เตงใส หยุน บอบบาง แสดงใหเห็นถึงความมชีีวิต ความเปนเอกภาพของพื้นผิวสองลักษณะที่มีความสัมพันธกับเรื่องที่แสดงออก การจัดวางจังหวะของพืน้ผิวและรูปทรงใหมีความเหมาะสม

พื้นท่ีวาง การใชพื้นทีว่างใหเกิดพลังความเคลื่อนไหวอยางตอเนื่อง เพือ่เนนพลังความเคลื่อนไหวไปอยางตอเนื่อง ลักษณะของพื้นที่วางทีใ่ชมีความสัมพันธและผสานกลมกลืนกับทัศนธาตุอ่ืน ๆ พื้นที่วางภายนอกเปนพื้นทีห่อหุมและเปนตวักาํหนดรูปทรง พื้นที่วางภายในคือพื้นที่วางระหวางเสนและรูปทรงอันเปนตัวกําหนดทิศทางของความเคลื่อนไหว

สีและน้ําหนัก ขาพเจาเลียนแบบลักษณะของสีที่มีอยูจริงในธรรมชาติ เชน สีของดิน เปลือกไม เงาแสงแดด และปรับใหเขากับจินตนาการเพื่อใหเกิดความเหมาะสมในการแสดงออก ขาพเจาไดเลือกสีที่เปนวัตถุของเนื้อดิน แสดงคุณคาของเนื้อวัสดุ เชน ดินโบนไชนา ที่มีสีขาวโปรงสีของเนื้อดินเอิทเทนแวรที่มีลักษณะ ดําแหง แสดงความเปนดินในธรรมชาติ สารใหสีในเคลือบทางเครื่องปนดินเผาเปนวัตถุดิบประเภทแรธาตุที่มีอยูตามธรรมชาติ บางก็ถูกนาํมาสังเคราะหซ่ึงเรียกวาสีสเตน(Stain Colour) มักจะนํามานิยมใชงานเครื่องปนดินเผาประเภทอุตสาหกรรม เพราะจะใหสีที่คงที่ไมเปลี่ยนแปลง และมีความสดใสของสีที่มากกวา ขณะที่วัตถุดิบที่ใหสีประเภทโลหะหนัก หรือที่เรียกวา ออกไซด (Oxides) จะใหสีที่ไมแนนอน หากบรรยากาศในการเผาหรือขบวนการเผา และอุณหภูมิความรอน เปลีย่นไปเพียงเลก็นอยก็จะทําให ผลที่ไดรับ แตกตางกนัไป อยางไรก็ตามผูทํางานศิลปะเครื่องปนดินเผาก็ยังนยิมที่จะใชสีออกไซดในการทํางาน เพราะจะให

18

ความรูสึกเปนธรรมชาติกวา สีที่ขาพเจาเลือกใชมีทั้งสีที่เปนออกไซดและสีสเตน เพราะตองการความสดใสในชิ้นงานของสีสังเคราะหดวย ซ่ึงสามารถสื่อถึงธรรมชาติได การวิเคราะหแนวความคดิแรงบันดาลใจและพัฒนารปูแบบผลงานระยะแรก

1. วิเคราะหแนวความคิดและแรงบันดาลใจ ในชวงระยะเริม่ตนของการสรางสรรค ขาพเจาไดศกึษา คนหา รวบรวมขอมูลจากเอกสาร และประสบการณตรง ที่ไดพบเห็นและเรียนรู รูปทรงของพืชชนิดตางๆ ซ่ึงในชวงแรกนี้ พืชที่ใชในการสรางสรรค จะเปนพืชที่มีลักษณะแบบอิงอาศัย ไดแก พืชจําพวกกลวยไม พืชเหลานี้จะมีรากอากาศ ยึดเกาะ และมีลักษณะลําตน เปนกอน รวมตัวเปนกลุม อีกทั้งใบจะมีความหนา จากการรวบรวมขอมูลขางตน ขาพเจาไดสรุปแนวความคดิ จากพืชทีม่ีลักษณะพิเศษ เหลานี้ เพื่อนําไปใชในการสรางสรรคผลงานในระยะแรก คือ เร่ืองของความเบา การรวมตัวกนัเปนกลุมกอน และการเชื่อมโยงกันของรากอากาศ ซ่ึงความเปนอยูของพืชแบบอิงอาศัยนี้จะสามารถอยูและเติบโตไดในทกุสถานที่ โดยไมตองอาศัยดิน อีกทั้ง ความพิเศษของรูปทรงที่มีลักษณะเฉพาะเปนเสนโคง ในสวนของตนและใบ 2. วิเคราะหและพัฒนารูปแบบ การทดลองสรางสรรค ผลงานเครื่องเคลือบดินเผา เปนแบบจําลอง 3 มิติ ในระยะแรกนี้ เกดิจากลักษณะ รูปทรงของพืชที่มีลักษณะเปนพืช แบบมหีัว และมกีารเติบโตที่รวมตัว เกาะกลุมกัน โดยในการสรางสรรค ขาพเจาไดนําเอาโครงสรางของใบไม มาใชเพื่อใหเกิดความรูสึกถึงความเบา การเจริญเติบโตแบบขยายออก ตามแนวระนาบ รวมถึงการแตกหนอ ตลอดจนการเจริญเติบโต แบบแทงยอดขึน้ในสวนดานบนของรูปทรง และเสนรอบนอกนั้นทําใหเกิดจังหวะที่แตกตางกันในรปูทรง สําหรับรูปทรงสวนใหญนั้นจะเปนรูปทรงที่มีลักษณะเปนแบบปด กลาวคอื จะไมมีการเวนชองเพื่อใหเกดิมิติหรือจังหวะของน้ําหนัก แตอยางใด อีกทั้ง แบบจําลอง 3 มิติบางชิ้นตองอาศัย การจัดวางที่เหมาะสม เพื่อใหเกิดระยะขอความตอเนื่องกันของรูปทรง แบบตาง ๆ สําหรับลักษณะพื้นผิวสวนใหญ จะมีลักษณะผิวหยาบและผวิเรียบ กลมกลนื ปะปนกนัไป ซ่ึงพื้นผิวเหลานี้ สามารถแสดงออกไดถึงความสมบูรณของรูปทรงแบบตาง ๆ นอกจากนี้สีสันที่ใชจะเปนสีสดใสของเคลือบเพื่อส่ือถึงความมีชีวิต เผาโดยใชเคลือบไฟต่ํา และมีการนําดินเยื่อกระดาษ มาใชเพื่อเชื่อมตอจดุ ที่มีโครงสราง ซับซอนดวย

19

ภาพที่ 10 แบบจําลอง 3 มิติ ชวงระยะแรก

20

การวิเคราะหแนวความคดิแรงบันดาลใจและพัฒนารปูแบบผลงานระยะที่ 2 1. วิเคราะหแนวความคิดแรงบนัดาลใจ ในชวงระยะที ่ 2 ของการสรางสรรค นี้เปนการศกึษาคนควาและรวบรวมขอมูล เร่ืองของพืช มาอยางตอเนื่องจากในระยะแรก ที่มาของแนวความคดิ ของรูปทรงตางๆ โดยรวม เกดิจากประสบการณตรง ที่ไดรับจาก การพบเห็น และการเรียนรูลักษณะรูปทรงของ พืช ชนิดตางๆ สวนประกอบของพืช ตลอดจนประโยชนของพืช ที่สวนใหญนัน้ลวนเปนความสําคัญตอมนุษย เสมือนพืชทุกชนิดนั้น มีคุณคา มีความหมาย และมชีีวิต ความสําคัญตอโลกใบนี้ ความละเอยีด ซับซอนของธรรมชาติเชน โครงสรางของใบไมเพยีง 1 ใบมีสวนประกอบของเซลลจํานวนมากแสดงใหเห็นถึงความยิ่งใหญของธรรมชาติ 2. วิเคราะหและพัฒนารูปแบบ สําหรับการทดลองสรางสรรคผลงานแบบจําลอง 3 มิติ ในระยะที่ 2 นี้ ขาพเจาไดแทนคาของรูปทรงของตนไม เปนสัญลักษณ เปรยีบเสมือนมนุษยคนหนึ่ง ลักษณะการจัดวางองคประกอบโดยรวม มกีารนํามาเรียงตอกัน เปนลักษณะโคง สลับกัน ไป มา สามารถแสดงถึงความรูสึก ของการเคลื่อนไหว การรับรู และใชแสงสวางมาประกอบภายในงานแทนคา ของพลังชีวิตที่เกดิขึ้นในธรรมชาติ การตกแตงดวยเทคนิคจุดเคลือบ เปนการใชจดุมาเปนสัญลักษณ แทนคาของการรวมตวัของ เซลลซ่ึงเสมือนเปนจดุเริ่มตนของชวีิตทุกชวีิต จดุเริ่มตนของสรรพสิ่งทั้งปวง การเลือกใชวตัถุดิบ(เนื้อดนิ)ชนิดตางๆ มาประกอบในการสรางสรรค เพื่อแสดงถึงความเปนปจเจกวัสดุนั้นๆ สีที่ขาพเจาเลือกใชเปนสีที่เกดิจากวัสดุมาแสดงออกดูบาง แตใชจังหวะทีเ่กิดขึ้นของการซํ้าของรูปทรงที่มีขนาดตางกนั แสดงความเคลื่อนไหว ความมีชีวิต

ภาพที่ 11 แบบจําลอง 3 มิติ ชวงระยะที่ 2

21

ภาพที่ 12 แบบจําลอง 3 มิติ ชวงระยะที่ 2 (ตอ)

22

ภาพที่ 13 แบบจําลอง 3 มิติ ชวงระยะที่ 2 (ตอ)

23

ภาพที่ 14 แบบจําลอง 3 มิติ ชวงระยะที่ 2 (ตอ) การวิเคราะหแนวความคดิ แรงบันดาลใจ และพัฒนารูปแบบผลงาน ระยะท่ี 3

1. วิเคราะหแนวความคิดและแรงบันดาลใจ

สําหรับในระยะที ่ 3 ซ่ึงเปนระยะสุดทายของการสรางสรรคผลงานแบบจําลอง 3 มิติ ขาพเจาไดรวบรวมขอมูล ผลงาน จากแบบจําลอง 3 มิติ ทั้ง 2 ระยะที่ผานมา ประกอบกับแนวความคิดหลักในการสรางสรรคงานที่มุงเนนเกี่ยวกบั เร่ืองราวของการเจรญิเติบโตของพืช การแตกหนอ และไดเพิม่แนวคดิ เร่ืองการอยูรวมกันเปนกลุมของธรรมชาติเปนการเพิ่มเตมิแนวความคิดใหมใหดูหลากหลาย สนองอารมณ ความรูสึกไดมากขึ้น มาใชเปนแนวทางสําคญั ในการสรางสรรคผลงานแบบจําลอง 3 มิติ ในระยะที่ 3

2. วิเคราะหการพัฒนารูปแบบ ในระยะที่ 3 นี้จะเห็นไดวา แบบจําลองที่สรางสรรคออกมานั้น จะเปนการรวมนําเอา รูปทรงที่ไดจากพืชตาง ๆ อาทิ พืชแบบมีหัว (ในระยะที่ 1) พืชแบบอิงอาศัย (ในระยะที่ 2 ) ตลอดจนการทดลองการคนหาเทคนิคใหมๆ ในการขึ้นรูป การตกแตงและการเผาเพื่อถายทอดทัศนธาตุทางธรรมชาติ ตามความรูสึกออกมาใหมากทีสุ่ด ทําใหผลงานมีความหลากหลายมากขึ้น รวมถึงการผสมผสานวิธีการจดัวางองคประกอบแบบกลุมโดยใชเสนการประกอบกนัของรูปทรงที่ทึบตัน รูปทรงที่เบา โปรง อาทิ การจัดวางรูปทรง ช้ินงาน โดยใชเสนโคงกนหอย หรือการเรียงชิ้นงานใหมีลักษณะแบบขั้นบันได เปนตน นอกจากนี้ มกีารนําหลอดไฟใสประกอบลงไป ในตวัช้ินงานดวยเพื่อสะทอนแนวความคิดที่ส่ือถึงความมีชีวิตของพืชเหลานั้น

24

จากแนวคิดและกรรมวิธีการสรางสรรคผลงาน ในรูปแบบดังกลาวนีเ้อง ที่แสดงออกถึงความแตกตางเดนชัดมากขึน้ ทําใหผลงานสรางสรรคที่ปรากฏในระยะที่ 3 นี้มีความแปลกตาไปมากกวาในระยะที่ 1 และระยะที่ 2 ทั้งในเรื่องของรูปทรงเทคนิคและวิธีการจดัวาง อยางไรก็ตาม การสรางสรรคช้ินงาน ในระยะที่ 1 ระยะที่ 2 และระยะที่ 3 ที่ผานมานี้ก็ลวนแลวแตมีที่มาของแนวความคิด แรงบันดาลใจ ที่มีความสมัพันธเกี่ยวของกับการเจริญเติบโต การอยูรวมกนัของส่ิงมีชีวิต ทั้งสิ้น

ภาพที่ 15 แบบจําลอง 3 มิติ ชวงระยะที่ 3

25

ภาพที่ 16 แบบจําลอง 3 มิติ ชวงระยะที่ 3(ตอ)

26

ภาพที่ 17 แบบจําลอง 3 มิติ ชวงระยะที่ 3(ตอ)

27

ภาพที่ 18 แบบจําลอง 3 มิติ ชวงระยะที่ 3(ตอ)

28

ภาพที่ 19 แบบจําลอง 3 มิติ “จินตภาพจากความรื่นรมย 1”

ลายเสนที่ 1 การออกแบบลวดลายและการจัดวางรูปทรงของผลงานชุดจินตภาพจากความรื่นรมย1

29

ภาพที่ 20 แบบจําลอง 3 มิติ “จินตภาพจากความรื่นรมย 2”

ภาพที่ 21 แสงเงาที่เกิดขึ้นในชิ้นงาน “จินตภาพจากความรื่นรมย 2”

30

ลายเสนที่ 2 การจัดวางรูปทรงของผลงาน “จินตภาพจากความรื่นรมย 2”

ภาพที่ 22 แบบจําลอง 3 มิติ “จินตภาพจากความรื่นรมย 3”

31

ภาพที่ 23 การจัดวางสวนประกอบและความโปรงแสงของเนื้อดินที่เกิดขึ้นในชิ้นงาน ลายเสนที่ 3 การจัดวางรูปทรงของผลงาน “จินตภาพจากความรื่นรมย 3”

บทท่ี 4

ขั้นตอนการสรางสรรค

ขั้นตอนการสรางสรรคในโครงการวิทยานิพนธเร่ือง จนิตภาพจากความรื่นรมยผูศึกษาไดสรางสรรคผลงานประติมากรรมเครื่องเคลือบดินเผาจํานวน 3 ชุด ทีต่รงตามแนวความคิดในการสรางสรรค โดยแบงขั้นตอนการสรางงานแยกเปนชุดๆไดดังนี ้ ชุด “จินตภาพจากความรื่นรมย 1” วัตถุดิบ 1. ดินเหนียว ดนิชนิดนีจ้ะมีสีดํา สามารถพบไดตามทองไรทองนาทั่วๆ ไปและแหลงน้ํา ชาวชนบทนิยมใชดินชนิดนี้ทําเครื่องปนดินเผาไวใชสอยในทองถ่ิน เพราะเผาในอุณหภูมิต่ําดนิชนิดนี้จะพบอยูในที่ราบลุม เม็ดละเอียด มีความเหนียวดีเหมาะสมกับการขึ้นรูปผลิตภัณฑใหความแข็งแรงตอผลิตภัณฑเมื่อยังไมเผา การหดตัวเมื่อแหง ดินเหนียวจะมีการหดตวัมากนอยแตกตางไปตามแหลง หรือชนิดของดินเหนียวนัน้ 2. ดินขาว (Kaolin) เปนสารประกอบอะลมูิเนียม ซิลิเกต (Aluminum Silicate Al2O3,2SiO2, H2O) ตนกําเนิดมาจากการผุพังของหินแกรนิต ตามปรากฎการณธรรมชาติ ขบวนการผุพังดังกลาวเกิดขึ้นโดยไอน้ํารอนและกาซรอนในสภาวะเปนกรดจากใตผิวโลกแทรกดันขึ้นตามรอยแตกของหนิแกรนิต เกิดปฏิกิริยาทางเคมีกับแร Feldspar ในหินแกรนิต ถูกเปลี่ยนแปลงเปนพวก Kaolin มีความทนไฟสูงกวา 1,800 องศาเซลเซียส เนื้อดินมีอนภุาคหยาบ 3. ทรายละเอียด ชวยควบคุมการหดตวัของเนื้อดินไมใหแตกราวได เพื่อที่จะถายเทความชื้นของน้ําในเนื้อดินสาํหรับผสมผลิตภัณฑประเภทโองดิน ครก ไห อิฐ กระถาง คนโท หรือผลิตภัณฑที่มขีนาดใหญ ทัง้นี้ขึ้นอยูกับความบริสุทธิ์ของทรายดวย 4. ดินเชื้อ (Grog) เปนเนื้อดินที่ผานการเผาแลวนํามาบดใหมีขนาดความละเอียดตามที่ตองการโดยการรอนดวยตะแกรง นํามาผสมในเนื้อดนิปน ในอัตราสวนที่เหมาะสม ชวยในการทรงตัวและการหดตัว รวมทั้งปองกันการแตกราวของผลิตภัณฑ (ทวี พรหมพฤกษ 2532 : 65) 5. ขี้เถาแกลบ ชวยควบคุมการทรงตัวการหดตวั ชวยลดการแตกราว

32

33

การเตรียมเนื้อดินปนและความรูท่ัวไปเก่ียวกับเนื้อดินปน การเตรียมเนื้อดินปนเปนการนําเอาวัตถุดบิที่เปนดินมาเพื่อทําการผลิตผลิตภัณฑ หรือนํามาทําการผสมเขาดวยกันกับวัตถุดิบอื่น ๆ เพื่อใหเนือ้ดินปนที่เหมาะสมที่จะนําไปใชงานไดตรงตามวัตถุประสงคที่ตองการ ประเภทของเนื้อดินปน เนื้อดินเอิทเทนแวร (Earthenware) ผลิตภัณฑเอิทเทนแวรเปนผลิตภัณฑทีน่ิยมทาํกันโดยทั่วไปเปนสวนใหญ ผลิตภัณฑชนิดนี้จะเผาในอุณหภูมิที่ไมสูงมากนัก ซ่ึงจะอยูในระหวาง Cone 01 – 04 (1,050 – 1,101 องศาเซลเซียส) ลักษณะโดยทั่วไปเปนผลิตภัณฑที่คอนขางหนามีเนื้อหยาบ มีความพรุนตัวคอนขางมาก (Porous) ซ่ึงผลิตภัณฑเอิทเทนแวรจะมีทั้งผลิตภัณฑที่เคลือบ และไมเคลือบ เวลาเคาะเสยีงทึบ ๆ ไมกังวลเหมือนผลติภัณฑชนิดอืน่ ๆ โดยที่เนือ้ดินปนสวนมากจะเตรยีมมาจากเนื้อดนิเหนียวธรรมชาติโดยทั่วไป สวนมากนยิมใชดินทองถ่ิน ซ่ึงสีของเนื้อดินกอนเผาจะมีสีน้ําตาลออน หรือสีน้ําตาลเขม เนื่องจากดินชนิดนี้สวนมากมีเปอรเซ็นตเหล็กสูง จึงไมนิยมนําไปผสมทําเปนผลิตภัณฑชนิดสีขาว (White Ware) สวนการนํามาขึ้นรูปเปนผลิตภัณฑจะมีการผสมทรายหรือดินเชื้อ (Grog) บางในการชวยใหการขึ้นรูปทรงตัวไดดี และยังปองกันปญหาการแตกราวของผลิตภัณฑ (ทวี พรหมฤกษ 2532 : 16) สูตรดินเอิทเทนแวร (Earthenware) ที่ใชในการขึ้นรูป ไดแก

ดินดําสุราษฎร รอยละ 40 ดินขาวลําปาง รอยละ 38 ทราย รอยละ 16 ขี้เถาแกลบ รอยละ 2 ดินเชื้อ รอยละ 4

การขึ้นรูป การขึ้นรูปเนื้อดินปนเปนรูปทรงตาง ๆ นัน้ มีหลายวิธีดวยกันตองแลวแตลักษณะของรูปทรงที่ตองการและความเหนียวของเนื้อดินปนเปนองคประกอบ ขาพเจาไดใชวิธีการขึ้นรูปแบบ

34

ขด (Coil Method) การขึ้นรูปแบบนี้สามารถขึ้นรูปตั้งแตช้ินงานขนาดเล็กจนถึงโองน้ําขนาดใหญ มนุษยเราไดรูจักวิธีแบบนี้กนัมานานแลว วิธีขึ้นรูปในขั้นแรกทุบดนิบีบดินใหเปนแผนใชเครื่องมือตัดใหเปนแผนกลมหรือส่ีเหล่ียมตามตองการ แลวคลึงดินใหเปนเสนกลมยาว มีขนาดเล็กหรือโตตามความเหมาะสมของรูปทรงที่ปน นําไปขดบนแผนที่เตรียมไวโดยใชน้ําดินประสานรอยตอ ใชมือบีบดินหรือกดดินใหเขากนัแนนสนิท ทําเชนนี้เร่ือยไปจนสูงพอกับความตองการ แลวแตงผิวใหเรียบแลวปลอยใหแหง ภาชนะใหญควรปลอยใหแหงอยางชา ๆ มิฉะนั้นจะแตกราวไดงาย การเผา การเผาเปนขั้นตอนสุดทายของขบวนการผลิตเครื่องปนดินเผา ซ่ึงนับวาเปนขั้นตอนที่สําคัญที่สุด ผลิตภัณฑทีไ่ดจะดีหรือไมเพียงใด จะสวยงามมากนอยเพยีงใด หรือมคีุณคามากนอยเทาใด ก็จะขึน้อยูกับขั้นตอนการเผาผลิตภัณฑนี้ทั้งสิ้น การเผาผลิตภัณฑแบงออกเปน 2 ขั้นตอนดังนี้คือ การเผาดิบ (Biscuit Firing) และการเผาเคลือบ (Glost Firing) (ทวี พรหมพฤกษ 2525 : 152) 1. การเผาดิบ (Biscuit Firing) เปนการใหความรอนแกงานเครื่องปนดินเผา ที่ผานการขึ้นรูปและผึ่งแหงมาแลวอยางคอยเปนคอยไป ในระยะแรกจําเปนตองเพิ่มอุณหภูมขิึ้นอยางชา ๆ ในการเรงไฟรอนเร็วเกินไป ถาผลิตภัณฑที่อยูในเตาไมแหงสนิทเมื่อไดรับความรอนมากน้ําทีอ่ยูในเนื้อผลิตภัณฑนั้นจะแตกระเบิดได ฉะนั้นการเผาในระยะแรกจึงตองใหความรอนเพียงเล็กนอย เพื่ออบไลน้ําออกจากผลิตภณัฑเสียกอน สําหรับเตาเผาขนาดเล็กอยางนอยภายในระยะเวลา 3 ช่ัวโมงแรก อุณหภูมิในเตาไมควรเกนิ 200 องศาเซลเซียส (424 องศาฟาเรนไฮต) ตอช่ัวโมง เพื่อใหน้ําในดนิที่อยูในรูป Free Water และน้ําที่อยูในรูปผลึกคายตัวออกมาจากดนิไดอยางชา ๆ เปนการปองกนัไมใหงานแตกอันเนื่องมาจากการดันตวัของน้ําในดนิดังกลาว ซ่ึงจะขยายตวัเมื่อไดรับความรอน และอีกชวงหนึ่งที่ควรระวังคือ ชวงการขยายตัวของซิลิกาในเนื้อดนิประมาณชวงอุณหภูมิ 573 องศาเซลเซียส (Quartz in Version) จึงควรเผาอยางชา ๆ แลวจึงคอย ๆ ลดความรอนภายในเตาใหเย็นลงทีละนอย จนกระทั่งอณุหภูมิไมเกิน 150 องศาเซลเซียส (324 องศาฟาเรนไฮต) จึงสามารถนําผลิตภัณฑออกจากเตา 2. การเผาเคลือบ (Glost Firing) หมายถึง การเผาใหน้ําเคลือบที่ชุบบนผลิตภัณฑละลายเปนเนือ้เดียวกัน มีความมันวาว บางชนิดเปนเคลือบดาน ผิวเรียบมีความแขง็ สามารถทนตอกรดและดางไดเปนอยางดี

35

อุณหภูมิที่ใชในการเผาดิบของขาพเจาอยูที่ประมาณ 850 องศาเซลเซียส ระยะเวลาที่ใชในการเผาประมาณ 23 ช่ัวโมง โดยมีชวงเวลาและอณุหภูมิดังนี ้ อุณหภูมิปกติ – 300 องศาเซลเซียส ใชระยะเวลา 16 ช่ัวโมง อุณหภูมิ 300 - 600 องศาเซลเซียส ใชระยะเวลา 4 ช่ัวโมง อุณหภูมิ 600 - 850 องศาเซลเซียส ใชระยะเวลา 3 ช่ัวโมง

ภาพที่ 24 ผลงานขณะเผาดบิ การเคลือบและสูตรเคลือบ เคลือบเปนเคลือบไฟต่ําเผาที่อุณหภูมิ 1,060 องศาเซลเซียส ในบรรยากาศแบบออกซิเดชัน(Oxidation Firing) เคลือบโดยวธีิการทา(ดานผิวนอก)ใชจุดเคลือบดานในใหเกดิลวดลาย สูตรเคลือบพื้นฐานที่ใชในชุดนี้ เผาที่อุณหภูมิ 1,060 องศาเซลเซียส ไดแก สูตรท่ี 1 (ใชทาผิวดานนอก) Nepheline Syenite รอยละ 40

36

ดินดําสุราษฎร รอยละ 15 Potash Feldspar รอยละ 15 Borax รอยละ 30 Addition Magnesium รอยละ 20 Chromic Oxide รอยละ 3 สูตรท่ี 2 (ใชจุดดานใน)

Nepheline Syenite รอยละ 40 Frit Borax รอยละ 20 Colemanite รอยละ 50

Quartz รอยละ 10 Addition Stain Color รอยละ 10 Zerconium Silicate รอยละ 10

ภาพที่ 25 สีเคลือบสูตรที่ 1 และสูตรที่ 2 อุณหภูมิที่ใชในการเผาเคลือบอยูที่ประมาณ 1,060 องศาเซลเซียส ระยะเวลาที่ใชในการเผาประมาณ 12 ช่ัวโมง โดยมีชวงเวลาและอุณหภูมิดังนี ้ อุณหภูมิปกติ - 200 องศาเซลเซียส ใชระยะเวลา 2 ช่ัวโมง อุณหภูมิ 200 - 500 องศาเซลเซียส ใชระยะเวลา 3 ช่ัวโมง อุณหภมูิ 500 - 800 องศาเซลเซียส ใชระยะเวลา 4 ช่ัวโมง อุณหภูมิ 800 – 1,060 องศาเซลเซียส ใชระยะเวลา 3 ช่ัวโมง ยืนไฟ(Soaking )ไวที่อุณหภมูิ 1,060องศาเซลเซียส ใชระยะเวลา 15 นาที

37

บรรยากาศในการเผา ในการเผาเครือ่งปนดินเผาจะมีการเผา 2 แบบ คือ การเผาแบบ Reduction และ Oxidation การเผาจะเปนบรรยากาศประเภทใดนั้นขึ้นอยูกับประเภทของเตาเผาและเชื้อเพลิง การเผาแบบ Reduction จะทําใหสีที่เกดิขึ้นเปลี่ยนแปลงไปในการเผาเตาจะมีบรรยากาศในเผาที่แตกตางกนั บรรยากาศที่เกดิในเตาเผามี 2 ลักษณะคือ (โกมล รักษวงศ 2538 : 154) 1. การเผาแบบรีดักชัน (Reduction Firing) ทําใหสีเกดิขึ้นได สีที่เกดิขึ้นในเนื้อเคลือบเปลี่ยนแปลงไปกับบรรยากาศของการเผา การเผาแบบรีดักชันคอืการที่เกิดการเผาไหมไมหมดภายในเตา จะมีกลุมควันและเขมาอยูอยูในหองเผาไหมของเตาเผาเนื่องมาจากออกซเิจนกับเชื้อเพลิงมีอัตราสวนที่ไมพอดีกนั การเผาเตาลักษณะนีเ้รียกการเผาแบบรีดักชัน เตาที่ใชในการเผาบรรยากาศนี้ไดด ี ไดแก เตาฟน เตาแกส 2. การเผาแบบออกซิเดชัน (Oxidation Firing) เปนการเผาไหมที่หมดจดไมมีกลุมควันอยูในหองเผาไหมของเตาเผาเพราะออกซิเจนและเชื้อเพลิงเหมาะสมกนั การเผาในบรรยากาศแบบนี้สามารถทําการเผาไดกับเตาเผาทุกชนิดเตาเผาที่แบบออกซิเดชันไดดทีี่สุดคือเตาไฟฟา ซ่ึงในการสรางสรรคคร้ังนี้ขาพเจาไดใชบรรยากาศในการเผาแบบออกซิเดชันโดยใชเตาไฟฟาในการเผา

ภาพที่ 26 ผลงานขณะเผาเคลือบและหลังเผา

38

เทคนิค เทคนิคที่ไชในชุดนี้ใชเทคนิคการจุดเคลอืบดานใน โดยใชเคลือบ สูตรที่ 2 ผสมกับ สี สเตน ในปรมิาณรอยละ 10 เพื่อใหไดสีสดใสอยูในงานโดยการจุดตอๆ กันเปนเสนและเกิดเปนลวดลายที่มาจากรูปทรงของเซลลพืชชนิดตางๆ มาเปนแนวทางการสรางสรรค

ภาพที่ 27 การเคลือบชิ้นงานชุด “จินตภาพจากความรื่นรมย 1” ชุด ”จินตภาพจากความรื่นรมย 2” สําหรับในชุด “จินตภาพจากความรื่นรมย 2” นี้ ขาพเจาไดสรางสรรคผลงานที่มีลักษณะของรูปทรง 2 รูปทรงประกอบกันเปน 1 รูปทรงโดยแบงรูปทรงออกเปน 2 สวน คือรูปทรงภายนอกที่หอหุมรูปทรงภายในดังภาพ ภาพที่ 28 การแยกสวนประกอบ

สวนที่เปนรูปทรงภายใน

สวนที่เปนรูปทรงภายนอก

39

สําหรับผลงานในชุดนี้ประกอบดวยรูปทรงที่มีลักษณะซ้ํากันมีขนาดใหญ เล็กลดหลั่นกันไปจํานวน 11 ช้ิน มีการจัดวางที่ตอเนื่องเพื่อใหเกิดความรูสึกเคลื่อนไหว ผลงานสวนที่เปนรูปทรงภายนอกใชเนื้อดินเอทิเทนแวร ขึ้นรูปโดยวิธีการขด เผาโดยการรมควัน ในเตาแกส ที่อุณหภูมิ 1,000 องศาเซลเซียส สวนที่เปนรูปทรงภายในใชดินโบนไชนาผสมดินเยือ่กระดาษ โดยมีกระบวนการ และรายละเอยีดดังตอไปนี ้ วัตถุดิบ 1. หินฟนมา (Feldspar) เปนสารประกอบของอัลคาไลนอลูมิเนียมซิลิเกต (Alkalies Aluminium Silicate) พบอยูในหินแกรนติทั่ว ๆ ไป หรือเกิดจากการแปรสภาพของหินแกรนิตมาเปนหินฟนมา หินฟนมายังเปนวัตถุดิบที่ชวยลดอณุหภูม ิ (Flux) สามารถใชเปนสวนผสมของเนื้อดินปนและเคลือบ เปนตัวชวยหลอมละลายวัตถุดิบอืน่ ๆ ใหอุณหภูมิในการเผาต่ําลง (โกมล รักษวงศ 2538 : 35) ซ่ึงในการศึกษาครั้งนี้ขาพเจาเลือกใชโซดาเฟลสปารในสวนผสมของเนื้อดินเพื่อใหโปรงแสงดีขึ้น ในการเผาอุณหภูมิสูง 2. หินเขี้ยวหนุมาน (Quartz) หรือ ควอตช มีสูตรทางเคมีวา SiO2 พบอยูในธรรมชาติเปนรูปของผลึก มีความบริสุทธิ์สูงกวาวัตถุดบิชนิดอื่น มีความแข็ง 7 มีปริมาณซิลิกาถึง 99.8 เปอรเซ็นต ทางเซรามิกส เรียกวา Flint การผสมหินเขี้ยวหนุมานในเนือ้ดินปนทําหนาที่เปนโครงสรางเพื่อใหดินมีความทนไฟสูงขึ้น ลดการหดตัวของเนื้อดนิ นอกจากนีท้ําใหเนื้อดินมีความแข็งและมีความโปรงใสขึ้นแตถาใสมากเกินไปทําใหลดความเหนียวลงและเพิม่การขยายตวัมีผลตอการแตกราวเสียหายได ถานําไปผสมในเคลือบ ทําใหเคลือบเปนมัน ทนตอการกัดกรอนไดดี แตถาใสมากเกินไปจะทําใหทนไฟสูงขึ้นเชนกัน (ทวี พรหมพฤกษ 2532 : 62) 3. เถากระดูก (Bone Ash) เปนวัตถุดิบที่เตรยีมขึ้นจากเถากระดูก มีสวนประกอบของคัลเซียมฟอสเฟสและคัลเซียมคารบอเนตร บางครั้งใชผสมในเคลือบทําหนาที่ลดจดุหลอม (Flux) ผสมในเนื้อดนิปนเพื่อความโปรงแสง (ทวี พรหมพฤกษ 2532 : 65) ประเภทของเนื้อดินปน 1. เนื้อดินโบนไชนา (Bone China) ผลิตภัณฑโบนไชนา เปนเครื่องปนดินเผาประเภทที่เนื้อดินไมมีความพรุนตัว มีความแข็งแกรง น้ําและของเหลวไมสามารถไหลซึมผานได เนื้อดินละเอียด แข็งแรงมีลักษณะเปนเหมือนแกว เนื้อดินสีขาวและโปรงแสง (Transparent) เผาใน

40

อุณหภูมิ 1,250 องศาเซลเซียสขึ้นไป บางครั้งถูกจัดอยูในพวกเดยีวกับซอฟทปอรสเลน (Soft Porcelain) เพราะอุณหภูมิการเผาอยูในระดับเดียวกนั เนือ้ดินมีสวนผสมของกระดูกสัตวในปริมาณสูงประกอบไปดวย หนิฟนมา (Potassium Feldspar) หินเขี้ยวหนุมาน (SiO2) ดินเกาลิน (Kaolin) และวัตถุดิบอืน่ ๆ 2. ดินเยื่อกระดาษ (Paper Clay) ในความหมายก็คือดินที่ผสมกับเยื่อกระดาษหรือกบัเยื่อจากธรรมชาตินั้นเอง ขอดีและคณุสมบัติพิเศษของ Paper Clay สรุปไดดังนี้ (ณฏัฐินี ศตวรรษธํารง 2544 : 138) 2.1 มีประสิทธิภาพในการตดิเชือ่มกันไดดีกวาดินธรรมดา ปญหาการแตกราวที่เกิดกับดินเกา ๆ หมดไป และยังสามารถใชมันไดเหมือนกับกาวในการประสานติด และเชื่อมกบัดินธรรมดาไดดีอีกดวย นอกจากนัน้ยังสามารถนํามาประกอบ นํามาตอ (Assemble) หรือตกแตงเพิ่มเติมไดอยางแนบสนิท แมวาดินจะแหงแลวก็ตามหรือแมวาจะตอประกอบดวยดินตางสภาวะกัน เชน ดนิที่ผานการเผาเคลือบแลว กบัดินที่ยังมีความชื้นอยู ก็สามารถยึดติดอยูได โดยไมเกิดรอยราวหรือแตกแยก 2.2 สามารถทําการซอมแซมได แทบทุกสภาวะของดิน ไมวาจะเปนดินดิบ (Green Ware) ดินที่ผานการเผาดิบแลว (Bisque Ware) หรือดินที่ผานการเผาที่อุณหภูมิสูงแลว (High firing) 2.3 ช้ินงานมีโครงสรางที่แข็งแรงขึ้น ดังนั้นจึงสามารถสรางสรรคงานที่มีลักษณะพิเศษที่ดนิธรรมดาแบบเกาไมสามารถทําได 2.4 ลดการบิดเบี้ยวหรือบิดงอของชิ้นงาน จะชวยไดมาก โดยเฉพาะในการขึ้นรูปแบบแผน (Slab Method) 2.5 ทําใหช้ินงานมีน้ําหนกัเบาขึน้ โดยเฉพาะหากผสมในอตัรารอยละ 50 สามารถเคลื่อนยายและสะดวกในการนําเขาเตาเผา 2.6 มีความแขง็แรง สามารถนําไปถอดแบบพิมพปูนปลาสเตอรได 2.7 ไมยุงยากในการทําสามารถใชดินไดทกุชนดิทําไดทุกเทคนิคและทุกกระบวนการผลิตไมวาจะเปนการขึ้นรูปแบบขด (Coiling) การขึ้นรูปแบบแผน (Slab) การขึ้นรูปดวยแปนหมุน (Wheel Throwing) การขึ้นรูปประติมากรรม (Sculpture) การขึ้นรูปโดยการหลอ (Casting) หรือใชทําเปนตนแบบ (Model) หรือแมแตทาํ Engobe 2.8 ไมเกิดการเปลี่ยนแปลงสีของเนื้อดินและไมมีผลกระทบตอการเคลือบหรือเทคนิคใด ๆ สูตรดินโบนไชนา (Bone China) ที่ใชในการขึ้นรูป ไดแก

41

Bone Ash รอยละ 47.5 ดินขาวระนอง รอยละ 30 Quartz รอยละ 2.5 Feldspar รอยละ 20 ในการสรางสรรคผลงานครั้งนี้ขาพเจาใชกระดาษหนังสอืพิมพมาเปนวัตถุดิบในการทําเยื่อกระดาษใชผสมในดินโบนไชนา อัตราสวน ดิน 3 สวนตอ : เยื่อกระดาษ 1 สวน การขึ้นรูป

สําหรับสวนทีเ่ปนรูปทรงภายในใชดินโบนไชนาผสมดนิเยื่อกระดาษเปนการขึ้นรูปแบบฉีดโดยมีวิธีการดังตอไปนี ้ 1. เตรยีมดินโบไชนาตามสวนผสมดังกลาว ทําใหเปนน้ําดิน โดยมีน้ําอยูรอยละ 35 โดยประมาณ 2. นํามาผสมกับเยื่อกระดาษปนใหเขากัน 3. นําไปเกรอะใหเนื้อดนิทีม่ีความหนดืเพยีงพอ สามารถบีบอัดได 4. หลังจากนัน้ นําดนิที่เตรียมไวหยอดใสลงเข็มฉีดยา ฉีดดินลงแบบพิมพคร่ึงวงกลมจนเต็มทิ้งไวใหหมาด

5. เมื่อดินหมาดจึงกลิ้งดานที่เหลืออยูและฉีดตอจนเปนทรงกลม 6. รอจนแหงแลวนําออกจากพิมพ 7. นําเขาเผา โดยเตรยีมฐานรองเผาดวยเนือ้ดินเอิทเทนแวร ที่ขึ้นรูปเปนทรงครึ่งวงกลม

และมีขนาดเดยีวกัน กับทรงกลมที่ขึ้นรูปไว ดังภาพประกอบ

ภาพที่ 29 ผลงานสวนที่เปนรูปทรงภายใน

42

ภาพที่ 30 เครื่องมือและขั้นตอนการขึ้นรูปผลงานสวนที่เปนรูปทรงภายใน การเผา การเผาสวนที่เปนรูปทรงภายในเผาดวยเตาไฟฟาที่อุณหภูมิ 1,250 องศาเซลเซียสในบรรยากาศแบบออกซิเดชัน สวนที่เปนรูปทรงภายนอกเผาเปนการเผาครั้งเดียว (One Firing) ดวยเตาแกส ใชเทคนิคการเผารมควันที่อุณหภูมิ 1,000 องศาเซลเซียส

43

เทคนิค เทคนิคการเผารมควัน (Smoke Firing) เปนเทคนิคที่ใชในกระบวนการเผาตกแตงผลิตภัณฑในขัน้ตอนของการเผาเคลือบ เปนวิธีการเผาโดยใชขี้เล่ือยเปนหลัก และกอผนังอิฐเปนเตา หรือ อาจใชถังน้ํามันหรือถังโลหะอ่ืนแทน จึงมีช่ือเรียกอีกอยางหนึ่งวา Barrel Firing มีการเลือกใชเศษขี้เล่ือยเปนสวนสําคัญในการสรางสรรคงาน เศษขี้เล่ือยที่มาจากไมเนื้อออนหรือแข็งละเอยีด หรือ หยาบ อัดแนน หรือ โปรง ในการเผา ยอมสงผลกระทบถึงผลงานที่จะออกมา การใชถานไมในการเขาไปมีสวนในการทําใหเกดิปฏิกริิยากับเนื้อดินปนและเคลือบที่ไดจากขี้เถาไมธรรมชาติเพื่อใหเกิดสีและเคลือบที่มีเอกลักษณเฉพาะตัวซ่ึงแตกตางจากการเผาเคลือบทั่วไป เปนการเลียนแบบบรรยากาศการเผาจากเตาฟนแตสามารถทําไดในเตาแกสและเตาไฟฟา กาซจากถานไมทาํใหไมมีออกซิเจนรอบๆผลิตภัณฑในหีบดนิ (Saggar Box) เงื่อนไขในการเผาจึงเปนแบบรีดกัช่ันอยางแรง ผิวของผลิตภัณฑมีลักษณะพิเศษเฉพาะเกิดขึ้นโดยกาซจากถานไมทําใหมีการเปลี่ยนแปลงของสี เชน สีเทา สีน้ําตาล สีน้ําตาลแดง สีดํา การเปลี่ยนแปลงของสีขึ้นอยูกับปริมาณของถานไมและปริมาณของออกซิเจนในหีบดิน (ณัฏฐินี ศตวรรษธํารง 2545 : 60)

ภาพที่ 31 การเผารมควันโดยการกอผนังอิฐในเตาแกส

44

อุณหภูมิที่ใชในการเผารมควัน อยูที่ประมาณ 1,000 องศาเซลเซียส ระยะเวลาที่ใชในการเผาประมาณ 24 ช่ัวโมง โดยมีชวงเวลาและอุณหภูมดิงันี้ อุณหภูมิปกติ - 200 องศาเซลเซียส ใชระยะเวลา 16 ช่ัวโมง อุณหภูมิ 200 – 1,000 องศาเซลเซียส ใชระยะเวลา 8 ช่ัวโมง เฉลี่ยอุณหภูมขิึ้น ช่ัวโมง ละ 100 องศาเซลเซียส ยืนไฟ(Soaking )ไวที่อุณหภมูิ 1,000 องศาเซลเซียส ใชระยะเวลา 15 นาท ี

ภาพที่ 32 การเผารมควันกอนและหลังเผา ชุด “จินตภาพจากความรื่นรมย 3” สําหรับในชุด “จินตภาพจากความรื่นรมย3” นี้ประกอบดวยรูปทรงที่ มีลักษณะซ้ํากัน มีขนาดใหญ เล็ก แตกตางกันไปจํานวน 10 ช้ิน เปนการจัดวางทีต่อเนื่อง เพื่อใหเกิดความรูสึกเคลื่อนไหว ขาพเจาไดสรางสรรคผลงานที่มีลักษณะของรูปทรง 2 รูปทรงประกอบกันเปน 1 รูปทรงโดยแบงออกเปน 2 สวน คือรูปทรงสวนที่เปนโครงสรางและรูปทรงสวนประกอบดานบน

ภาพที่ 33 การแยกสวนประกอบชุด “จินตภาพจากความรื่นรมย 3”

สวนประกอบดานบน สวนที่เปนโครงสราง

45

การขึ้นรูป ในสวนทีเ่ปนโครงสรางใชใชเนื้อดินเอิทเทนแวร ขึน้รูปแบบแผน (Slab Method) การขึ้นรูปแบบแผนเหมาะสําหรับรูปทรงที่มีลักษณะเปนเหล่ียม สวนประกอบดานบนใชดินโบนไชนา ขึ้นรูปดวยวิธีการหลอการขึ้นรูปดวยวิธีนี้จะตองอาศัยแบบพิมพ โดยที่ใชดินในสภาพของเหลวขนเทเขาไปในแบบพิมพวิธีนี้เปนที่นิยมในกระบวนการทางอุตสาหกรรม เนื่องจากจะได รูปทรงที่เหมือนกัน และมีขนาดเทากัน สามารถผลิตไดจํานวนมาก ๆ ภาพที่ 34 ผลงานการขึ้นรูปแบบแผนและการขึ้นรูปแบบหลอ ภาพที่ 35 สวนประกอบดานบนหลังเผาและความโปรงแสงของเนื้อดนิ

46

การเผา อุณหภูมิที่ใชในการเผาสําหรับสวนที่เปนโครงสรางเผาเคลือบที่อุณหภูมิ 1,060 องศาเซลเซียส ในบรรยากาศแบบออกซิเดชัน เผาโดยเตาไฟฟา สวนประกอบดานบน เนื้อดินโบนไชนาเผาโดยไมเคลือบ ในบรรยากาศแบบออกซิเดชัน เปนการเผาครั้งเดียว (One Firing) อุณหภูมิอยูที่ประมาณ 1,250 องศาเซลเซียส เผาโดยเตาไฟฟา ในบรรยากาศแบบระยะเวลาที่ใชในการเผาประมาณ 7 ช่ัวโมง โดยมีชวงเวลาและอณุหภูมิดังนี ้ อุณหภูมิปกติ - 200 องศาเซลเซียส ใชระยะเวลา 1 ช่ัวโมง อุณหภูมิ 200 - 500 องศาเซลเซียส ใชระยะเวลา 1 ช่ัวโมง อุณหภูมิ 500 - 800 องศาเซลเซียส ใชระยะเวลา 2 ช่ัวโมง อุณหภูมิ 800 - 1,250 องศาเซลเซียส ใชระยะเวลา 3 ช่ัวโมง ยืนไฟ(Soaking )ไวที่อุณหภมูิ 1,250 องศาเซลเซียส ใชระยะเวลา 15 นาที จากที่กลาวมาขางตนตามลักษณะการแบงประเภทผลิตภณัฑ จากเนื้อดินปน ที่มีความหลากหลาย ดงันั้นขาพเจาจงึเลือกที่จะนําความเปนปจเจกวัตถุนี้มาสรางสรรคผลงานครั้งนี้ การเคลือบและสูตรเคลือบ เคลือบเปนเคลือบไฟต่ําเผาที่อุณหภูมิ 1,060 องศาเซลเซียส เคลือบโดยวิธีการทาเผาดวยเตาไฟฟาในบรรยากาศแบบออกซิเดชัน่มีสูตรเคลือบพื้นฐาน ดังนี ้ สูตรท่ี 1 Lithium Carbonate รอยละ 12 Barium Carbonate รอยละ 5 Whiting รอยละ 12 Zinc Oxide รอยละ 12 ดินขาว รอยละ 20 Quartz รอยละ 39 Addition สารใหสี Ferric Oxide รอยละ 1 Manganese Oxide รอยละ 5 Bone Ash รอยละ 5

47

สูตรท่ี 2 Kamodo Feldspar รอยละ 20 Barium Carbonate รอยละ 13 Lithium รอยละ 20 Bentonite รอยละ 3 ดินขาว รอยละ 14 Quartz รอยละ 30 Addition สารใหสี Ferric Oxide รอยละ 3 Copper Oxide รอยละ 1 Bone Ash รอยละ 5 สูตรท่ี 3 Tin Oxide รอยละ 7 Borax รอยละ 20 Colemanite รอยละ 60 Nepheline Syenite รอยละ 10 Lithium รอยละ 3 Addition Copper Carbonate รอยละ 3.5 Titanium Dioxide รอยละ 15 ภาพที่ 36 สีเคลือบสูตรที่ 1 สูตรที่ 2 สูตรที่ 3

48

ภาพที่ 37 ผลงานสําเร็จชุด “จินตภาพจากความรื่นรมย1” ดานหนา ขนาด 125 cm. x 110 cm. x 43 cm.

49

ภาพที่ 38 ผลงานสําเร็จชุด “จินตภาพจากความรื่นรมย1” ดานขาง ขนาด 125 cm. x 110 cm. x 43 cm.

50

ภาพที่ 39 ผลงานสําเร็จชุด “จินตภาพจากความรื่นรมย1” สวนรายละเอยีด

51

ภาพที่ 40 ผลงานสําเร็จชุด “จินตภาพจากความรื่นรมย 2” ดานหนา ขนาด 240 cm. x 200 cm. x 55 cm.

52

ภาพที่ 41 ผลงานสําเร็จชุด “จินตภาพจากความรื่นรมย 2” ดานขาง ขนาด 240 cm. x 200 cm. x 55 cm.

53

ภาพที่ 42 ผลงานสําเร็จชุด “จินตภาพจากความรื่นรมย 2” สวนรายละเอยีด

54

ภาพที่ 43 ผลงานสําเร็จชุด “จินตภาพจากความรื่นรมย3” ดานหนา ขนาด 200 cm. x 140 cm. x 37 cm.

55

ภาพที่ 44 ผลงานสําเร็จชุด “จินตภาพจากความรื่นรมย3” ดานขาง ขนาด 200 cm. x 140 cm. x 37 cm.

56

ภาพที่ 45 ผลงานสําเร็จชุด “จินตภาพจากความรื่นรมย 3” สวนรายละเอยีด

57

วิเคราะหการจัดวางและทัศนธาตุผลงาน ชดุ “จินตภาพจากความรื่นรมย 1”

ผลงานชุดนี้ เปนผลงานในชวงระยะการทํางานที่ 2 โดยใชรูปทรงภายนอกที่ไดจากธรรมชาติ สวนรายละเอียดภายในใชการสรางพื้นผิวและลวดลายจากจุดดวยเคลือบโดยใชลวดลายของเซลลที่มีอยูในพืช ผานกระบวนการลดทอน เพิ่มเติมบาง แลวใชวิธีการจดุเคลือบที่มีสีสันที่สดใส เพื่อส่ือใหเหน็วาในใบไมเพยีงหนึ่งใบที่เราเห็นนัน้ แทจริงมันประกอบไปดวยเซลลส่ิงมีชีวิตจํานวนลานๆเซลลแสดงใหเห็นถึงความยิ่งใหญของธรรมชาติ ซ่ึงมนุษยก็เปนสวนหนึ่งที่ตองอาศัยธรรมชาติ พืชพันธุเหลานี้ดวยเหมือนกัน หากขาดสิ่งใดไปกจ็ะขาดสมดุล เสมือนลวดลายที่มาจากวิธีการจดุเคลือบโดยเปนจดุเล็กๆ ประกอบเปนเสนจนเกิดเปน ลวดลายสื่อถึงการรวมตัวกันของชีวิต หากขาดจุดใดไปก็ทําใหขาดความเชือ่มโยง เสมือนทําใหชีวิตขาดความสมดุลขาพเจาใชส่ิงเล็กๆ เหลานี้มาแทนคาความหลากหลาย ความเชี่อมโยง และความสําคญัของสิ่งเหลานี้ สวนเคลือบดานผิวนอก ใชเคลือบดานสีเขียว เพื่อไดพื้นผิวที่ไมเรียบ ใชการซ้ําของรูปทรงมาจัดวางใหเกดิจังหวะที่ตอบรับกันดวยขนาดที่แตกตางกัน จํานวนชิ้นงานในชุดนี้มีจํานวน 3 ช้ินโดยไดลดจํานวนลงจากชุดจําลองเพื่อความเหมาะสม วิเคราะหการจัดวางและทัศนธาตุผลงานชุด “จินตภาพจากความรื่นรมย 2” ผลงานชุดนี้ เปนผลงานในชวงระยะการทํางานที่ 3 โดยใชรูปทรงจากธรรมชาติ ผานกระบวนการลด ตัดทอนเพิม่เติมบางสวน มีหลักการจดัวางองคประกอบโดยรวมเปนเสนโคงมนคลายกนหอย ซ่ึงลักษณะของเสนโคงกนหอยนี้ ใหความรูสึกเคลื่อนไหว คล่ีคลาย และเติบโต เมื่อมองจากภายในออกมาถามองจากภายนอกเขาไป จะใหความรูสึกที่ไมส้ินสุดของพลังเคลื่อนไหว สําหรับรูปทรงที่สรางสรรคขึ้นใหมในผลงานชิ้นนี้ มจีํานวนทั้งสิ้น 11 รูปทรง แตละรูปทรงมีขนาดที่แตกตางกัน ไดมีการจัดวางองคประกอบ ใหรูปทรงที่มีขนาดเล็กที่สุด ไดอยู ณ จุดเริ่มตนของศูนยกลางภายในรูปกนหอย และเรยีงจากรูปทรงที่มีขนาดเล็กที่สุด ไปหารูปทรงที่มีขนาดใหญกวาเรื่อยๆ ภายนอก ทั้งนี้เพื่อใหสัมพันธกันกับเนื้อหาของผลงาน ที่เกี่ยวของกับการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตที่ไมส้ินสุด ซ่ึงในชุดนีเ้องขาพเจาไดใชแสงเงา การตกกระทบของแสงสวางผานรูปทรงกลมที่ มีลักษณะโปรงเปนเสนใยเล็กๆ อยูดานใน ทําใหเกดิแสงเงาที่ผิวดานในของโครงสรางที่ซอนกัน ทํางานเปรียบกับเงาของแสงอาทิตยที่ผานกิ่งไมใบไมมา ความรูสึก เมื่อเราอยูใตเงาไม แตในทางกลับกัน ขาพเจาเกดิจินตนาการในการถายทอดเรื่องราวของพืชที่ผิวดานนอก

58

แหงแลง แตแทจริงภายในยงัคงมีความชุมชื้น บริสุทธิ์ รอวันผลิ เกิด และเติบโต ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง “จินตภาพแหงความรื่นรมย” ที่เกิดขึ้นนี้ เกดิมาจากจติสํานึกภายใต การรับรู ความรูสึก วิเคราะหการจัดวางและทัศนธาตุผลงานชุด “จินตภาพจากความรื่นรมย 3”

ผลงานชุดนี้ เปนผลงานในชวงระยะการทํางานที่ 3 โดยใชรูปทรงธรรมชาติมาผานกระบวนการสกัด ลดตดัทอน รูปทรงมาสูรูปทรงแบบนามธรรม มีหลักการจัดวางองคประกอบโดยรวมเปนกลุม สังเกตไดวามีลักษณะของกลุมจํานวนทั้งสิ้น 2 กลุม อีกกลุมหนึ่งเล็ก อีกกลุมหนึ่งใหญ ขาพเจาตั้งใจที่สรางสรรครูปทรงทั้งสองกลุมดังกลาวใหมีขนาดที่แตกตางกนั เพื่อสุนทรียะทางองคประกอบในการจดัวาง นอกจากนี ้ ยังไดจงใจ ทําใหเกดิที่วางขึ้น ระหวางรูปทรงทั้งสอง โดยที่วางทีเ่กดิขึ้น มีลักษณะของเสนและ รูปราง คลายกับรูปสี่เหล่ียมผืนผา หากมองลงมาจากดานบน (Bird Eye View) เชนเดียวกนักับรูปทรงที่อยูในกลุมเล็ก และรูปทรงที่อยูในกลุมใหญ รูปทรงที่อยูในกลุมเล็กนั้นมีรูปทรงทั้งหมดจํานวน 3 รูปทรง เรียงสลับทับซอนกันขึ้นไป คลายลักษณะชั้นของขั้นบันได สวนรูปทรงในกลุมใหญ มจีํานวนรูปทรงทัง้สิ้น 7 รูปทรง ซ่ึงก็เรียงสลับทับซอนกันขึน้ไป คลายชัน้ของบันไดเชนเดียวกนั รูปทรงที่เกิดขึ้นทั้งหมดเหลานี ้ มีการจัดวางที่นาสนใจอยางยิ่ง กลาวคือ เมื่อมองลงมาจากดานบน จะเห็นรูปทรง ที่รวมกลุมกนัอยู 2 กลุม มีรูปทรงจํานวนทั้งสิ้น 10 รูปทรง แตละรูปทรงเปนรูปสี่เหล่ียมผืนผา ทีม่ีขนาดเล็ก ใหญแตกตางกนั แตเมื่อมองจากมุมดานขาง (Side View) เราจะเห็นรูปทรงเล็ก ๆ ที่รวมกลุมกนัอยูทั้งหมดนั้น รูปเสนรอบนอกเปนเสนโคงมนของมวลที่ทําใหความรูสึกวาเปนรูปทรงที่มีสัดสวนเสมือนภาพลักษณอยางหนึ่งทีเ่กดิขึ้นตามธรรมชาติ ที่มีขนาดเล็ก ใหญ แตกตางกัน วิธีการ วางสลับรูปทรง และทับซอนกันระหวางรูปทรง เพื่อใหเกิดจังหวะทีแ่ตกตางกนั ทั้งนี้ ไดมีผลชวยทําใหเห็นความตอเนืองของรูปทรงสี่เหล่ียมผืนผา ที่มองลงมาจากดานบน และรูปทรงรี ที่มองจากดานขาง ไดเปนอยางดี สําหรับลักษณะวิธีการเรียงตอรูปทรงขึ้นเห็นเปนชัน้คลายลักษณะของชั้นขั้นบันไดนี้ไดสะทอนเรื่องราว (การจัดวาง) ที่แสดงออกถึงการดําเนินไปของเนื้อหา (รูปทรง) เดิมอยางตอเนื่องไมมีส้ินสุด การจัดวางองคประกอบดังกลาว มีความสัมพันธ กับแนวความคิดสรางสรรค ที่มีจินตภาพในแงบวก ตอส่ิงมีชีวิตขนาดเลก็ ๆ ที่อาศัยอยูในธรรมชาต ิซ่ึงตางก็พึ่งพาอาศัยกัน มีการเจริญเติบโต และการดําเนินไปอยางตอเนื่องสม่ําเสมอตลอดเวลา ดวยการใชองคประกอบที่มีความหลากหลาย เรียบงายแตสามารถแสดงความกลมกลืนและการพึ่งพาอาศยักัน มองเหน็ และสัมผัสไดถึงจินตภาพ แหงความรื่นรมย ที่มีอยูในสิ่งมีชีวิตเล็กๆ เหลานั้น

59

สําหรับทัศนธาตุสําคัญที่เปนจุดเดน ทีน่าํมาใชเปนตวัเชื่อม ถายทอดจินตนาการ และแนวความคิดที่มีตอผลงานสรางสรรคชุดที่ 3 ใหมีความสมบูรณ โดยเนื้อหาผลงานที่กลาวถึง การเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ที่มีอยูในธรรมชาติ มาแสดงออกโดยการนําเอาทัศนธาตุ เร่ือง “จุด” มาใชถายทอดเนื้อหาดังกลาวดวย โดยการเจาะชองบนพื้นผิวเรียบของรูปทรงสี่เหล่ียมผืนผา (หากมองจากดานบน) และไดนําเอารูปทรงวงกลมขนาดเล็กสีขาวและโปรงแสง ที่มีขนาดสัดสวน เล็ก ใหญ ไมเทากนั จํานวนหลาย ๆ ขนาด บรรจุลงไวในชองที่ไดเจาะเปนรูเล็ก ๆ มีการจัดวางใหอยูในตําแหนงที่สลับกันไปมา สูงและต่ําไมเทากัน บางก็มกีารเวนชองรูเล็ก ๆ เหลานั้นไว บางก็ขุดชองรูเล็กๆ นั้นใหเปนเพียงรองรอยของรูที่มลัีกษณะเปนนูนต่ํา การกระทําดังกลาวนี้ มีผลทําใหเกดิเสนที่เปนลักษณะของรูปเรขาคณิตเกิดรูปรางที่เปนรูปวงกลม เกิดทีว่างขึ้นใหม เกดิพื้นผิวที่ไมเรียบ เกิดน้ําหนกัขึ้นระหวางชองที่เจาะเปนรูเล็กๆ กับชองที่ไดเปนรองรอยนูนต่ํา รวมทั้งเกดิสีสันที่ตัดกนั และรูปรางรูปทรง ของ ผลงานโดยสวนที่เปนรูปทรงสี่เหล่ียมผืนผาดานลาง สีขาวที่เกิดจากลูกทรงวงกลม สีขาวที่เกิดขึ้นนี้เอง คือทัศนธาตุ “จุด” ที่สามารถมองเห็นไดอยางเดนชดั และมีความสําคญัอยางยิ่งตอเนื้อหาแนวความคดิ กลาวคือ จุดที่ขาวสวางที่เกิดขึ้นอยางประปราย คละเคลาและสลับกัน ไดแทนคาของเนื้อหาผลงานที่เปนการกลาวถึง การกําเนิด เกดิขึ้นของสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ทั้งที่อยูในธรรมชาติ

บทท่ี 5

สรุปผลการสรางสรรค

การสรางสรรคผลงานทางเครื่องปนดินเผานี้ นอกจากจะจินตนาการไดในสวนถึงเนื้อหาและสามารถจินตนาการถึงรูปทรงไดแลว แตหากขาดสวนที่เปนเทคนิค กระบวนการแลวนั้น ผลงานก็ไมมีวันสําเร็จลงได การสรางสรรคงานเครื่องปนดินเผาเปนผลงานที่ละเอียดออน และอาศัยทักษะประสบการณ ความเพียรและอดทน การคนควาและการทดลอง เนื่องจากธรรมชาติสรางสรรควัตถุดิบ ดิน หิน และแรธาตุตางๆ มาใหมากมาย และแมแตวัตถุดิบชนิดเดียวกัน เพียงแตมาจากแตละแหงของสถานที่ ก็อาจทําใหผลลัพธที่ไดแตกตางกันไป และจากนี้ยังตองผานขั้นตอนของกระบวนการเผาที่มีบรรยากาศ ออกซิเดชัน (Oxidation) และรีดักชัน (Reduction) การแช หรือการรักษาระดับอุณหภูมิ (Soaking) ฯลฯ ลวนแลวแตเปนตัวแปรสําคัญที่จะยังผลกับงาน ดังนั้น จึงตองเอาใจใส ความทุมเท และศึกษาคนควาทดลอง จนแนใจวาผลงานสรางสรรคทางดานรูปทรงของชิ้นงาน จะสําเร็จออกมาตามจินตนาการของเนื้อหาในสวนที่คาดหวังไว

ในการสรางสรรควิทยานิพนธคร้ังนี้ ขาพเจาไดใชความเขาใจในกระบวนการสรางสรรค ความคิด จากประสบการณที่ไดเรียนรูตลอดระยะเวลาที่ไดศึกษาตั้งแตบทสรุปของแนวความคิดจนถึงกระบวนการสุดทายของการสรางสรรค มีปญหาและอุปสรรคมากมาย ซ่ึงสามารถสรุปไดดังนี้ 1. ชวงระยะแรกของขาพเจายังไมสามารถคลี่คลายรูปทรงใหแสดงออกไดตรงตามวัตถุประสงคที่ตั้งไว ตองใชเวลาในการทดลองและคนหารูปทรงที่เปนเอกลักษณเฉพาะตัว การแกไขการทดลองหาสิ่งใหม ๆ บวกกับการวิเคราะหรูปทรงผลงานที่ผานมาวามีขอดีขอเสียอยางไรบางเพื่อหาแนวทางในการทํางานตอ ๆ ไป 2. การเลือกใชวัสดุในการสรางสรรคผลงานศิลปะมีความจําเปนอยางยิ่ง วัสดุที่ใชมีความสัมพันธเกี่ยวโยงถึงความเปนปจเจกวัตถุนั้น ๆ การเลือกใชวัสดุในการสรางสรรคผลงานมีความจําเปนอยางยิ่งเชน 2.1 การเลือกใชเนื้อดินโบนไชนา ที่มีคุณสมบัติ โปรงแสง สีขาว ขาพเจาก็ใชความโปรงแสงมาแสดงออกถึงพลังชีวิตการกําเนิด เติบโต แตทั้งนี้ปญหาที่พบคือการหลอดิน โบนไชนาที่มีความเหนียวนอย ทําใหยากตอการขึ้นรูปเนื่องจากตองหลอใหบางเพียง 1 มิลลิเมตรเทานั้น เพราะความหนามีผลตอความโปรงแสง

60

61

การแกไขโดยการเตรียมดินไว ลวงหนาหมักทิ้งไวนาน ๆ ทําใหดินมีความเหนียวเพิ่มขึ้น 2.2 การเลือกใชดินผสมเยื่อกระดาษดวยใหคุณสมบัติในการยึดเกาะเหมาะแกการขึ้นรูปที่มีโครงสรางยาก ๆ ปญหาที่พบคือการยุบตัวของรูปทรงขณะเผา

วิธีแกไข ทําไดโดย การทําตัวรองเผาใหมีขนาดและรูปทรงเดียวกันตามที่ตองการ 3. การคนหาทางเทคนิคเปนอีกสิ่งหนึ่งการทดลองสิ่งใหมๆมีความจําเปนอยางยิ่งในการสรางสรรคผลงานศิลปะ โดยเฉพาะทางดานเครื่องเคลือบดินเผามี กรรมวิธีหลายข้ันตอนที่ ผูสรางสรรคสามารถเลือกและคนหาได เชนในการทํางานครั้งนี้ เทคนิคที่ขาพเจาคนหามีดังนี้ 3.1 เทคนิคการตกแตงดวยวิธีการจุดเคลือบในชุด “จินตภาพจากความรื่นรมย 1” เพื่อส่ือถึงเซลจํานวนมากในใบไม เพียง 1 ใบ แสดงใหเห็นถึงความ ซับซอนความยิ่งใหญของธรรมชาติ ปญหาที่พบ การจุดเคลือบตองเปนเคลือบที่มีชวงของการสุกตัวที่ยาวพอ เพื่อไมใหจุดเคลือบนั้นไหล เพราะจะทําใหลวดลายผิดพลาดไปไดจากที่คาดหมาย

วิธีแกไข กอนจะทํางานจริงตองมีการทดลองเคลือบเพื่อใหไดผลที่แนนอน ทั้งสีเคลือบและ ลวดลายที่ตองการ 3.2 เทคนิคการตกแตงดวยวิธีการเผาดวยคารบอน ในชุด “จินตภาพจากความร่ืนรมย 2” ขาพเจาเลือกการเผาดวยคารบอนซึ่งเปนการเผาใหเนื้อดินเปนสีที่เกิดขึ้นจากเชื้อเพลิงที่ใช เปนวิธีทําใหเกิดสีตามธรรมชาติ ปญหาที่พบ การเผาดวยวิธีนี้ เปนการเผาที่ยากตอการคาดเดาตองอาศัยประสบการณคือ เผาบอย ๆ เนื่องจากสีของเนื้อดินที่ออกมาแตละครั้งจะแตกตางกันทั้งนี้ขึ้นอยูกับปริมาณของขี้เล่ือย การอัดแนนที่บริเวณลางจะทําให ผิวของชิ้นงานเปนสีดํา แตที่ดานบนจะเปนสีเทา เนื่องจากการยุบตัวของขี้เล่ือยเมื่อโดนความรอน วิธีแกไข อัดขี้เล่ือยใหแนนมากขึ้นถาตองการสีดํา ปญหาที่พบ อีกขอคือที่บริเวณกนของชิ้นงาน บริเวณผิวจะรอนออกมาเปนรอยแผล มีขนาด เล็กบางใหญบาง อาจมีสาเหตุมาจากการอัดแนนของขี้เล่ือย ที่บริเวณลางและบวกกับน้ําหนักกด การทับของรูปทรงกลมทําใหการเผาไหม ไมสะดวก เนื่องจากบริเวณดานบนไมพบปญหาดังกลาว อีกทั้งเปนการเผาแบบครั้งเดียว (One Firing) ทําใหการควบคุมทําไดยากมาก วิธีแกไขปดชองหรือรูระบายใหสนิทและอัดขี้เล่ือยใหแนนเทากันทั้งดานบนดานลาง และเผาใหชาลงกวาเดิมหรือควรทําการเผาดิบชิ้นงานกอนนํามาเผาดวยคารบอน

62

4. การขึ้นรูปชิ้นงานที่มีขนาดใหญ ตองมีการควบคุมในเรื่องของการขึ้นรูป การอัดเนือ้ดินใหแนนเปนเนื้อเดียวกันทั้งหมด ไมใหมีอากาศอยูดานใน ตองอาศัย ทักษะ และประสบการณตลอดจนการทําใหแหง การเผาอยางชาๆ ตองควบคุมเปนอยางมาก ใชความทุมเท ทั้งแรงกายและจิตใจเปนสิ่งสําคัญมากในการทํางานใหเปนไปตามวัตถุประสงค สําหรับขาพเจาผูเปนมนุษยผูหนึ่งยังคงหายใจ และดํารงอยูบนโลกรวมกับชีวิตอื่นๆ การสรางสรรคงานศิลปะเสมือนตัวแทนของคําขอบคุณกับโลกใบนี้กับตนไมทุกตน กับชีวิตทุกชีวิต ขาพเจาหวังใหผลงานนี้เปนสวนหนึ่งในการกระตุน ใหผูไดพบเห็น เห็นถึงคุณคาความงาม และชวยกันดูแลตนไมและโลกใบนี้ใหคนรุนหลังไดช่ืนชม ผลงานครั้งนี้เปนตัวตนและจินตนาการของขาพเจาใหผูอ่ืนไดรับรู เปนแรงผลักดันในการกาวเดินตอไปในโลกศิลปะที่กวางใหญตอไป

63

บรรณานุกรม โกมล รักษวงศ. วัตถุดิบที่ใชในงานเครื่องปนดินเผาและเนื้อดนิปน. กรุงเทพมหานคร : วิทยาลัยครูพระนคร, 2538. จุมพล อุทโยภาส. “ตน ผล ใบ, แกะไม.” ใน ศิลปกรรมทุนสรางสรรคศิลป พีระศรี ประจําป

2544 . กรุงเทพมหานคร : ณ หอศิลป มหาวิทยาลัยศิลปากร วังทาพระ, 1 - 15 สิงหาคม 2545, ม.ป.ท., 2545.

ชลูด นิ่มเสมอ. องคประกอบของศิลปะ. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช, 2542. ณัฏฐินี ศตวรรษธํารง. “Perper Clay.” ใน การแสดงศิลปะกรรมเครื่องเคลือบดินเผาแหงชาติ คร้ังที่

10. ณ หอศิลป มหาวิทยาลัยศิลปากร วังทาพระ,15 ธันวาคม 2543 - 10 มกราคม 2544. กรุงเทพมหานคร : อัมรินทรพร้ินติ้ง, 2543. . “เผาดวยควัน.” ใน นิทรรศการผลงานคณาจารยคณะมณัฑนศิลปประจําป 2545 คร้ังที่

5. ณ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป มหาวิทยาลัยศิลปากร วังทาพระ, 15 - 30 กันยายน 2545.กรุงเทพมหานคร :ม.ป.ท.,2545.

ทวี พรหมพฤกษ. เครื่องเคลือบดินเผาเบื้องตน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพรุงเรืองรัตน, 2532. . เตาและการเผา. กรุงเทพมหานคร : หนวยศกึษานเิทศก กรมการฝกหัดครู, 2525. ฟารบ ปเตอร. ปา. หนังสือชุดธรรมชาติของไลฟ แปลโดย นยิม เรียงจันทร, สุรจิต วรรณจนัทร และสมศักดิ์ แสนสุข. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพไทยวฒันาพานิช จํากัด, 2526. พิชิต ตั้งเจริญ. “เงาตนไม,สีน้ํามัน.”ใน ความวาง. การแสดงผลงานศิลปกรรมของ นนทิวรรธน

จันทนะผะลิน รวมกับ พิชิต ตั้งเจริญ ณ หอศิลป มหาวิทยาลัยศิลปากร วังทาพระ, 24 มิถุนายน - 15 กรกฎาคม 2546. กรุงเทพมหานคร : บริษัท กูดวิล เพรส (ประเทศไทย) จํากัด, 2546.

64

ประวัติผูวิจัย

ช่ือ-สกุล นางสาวสุภาพร อรรถโกมล ที่อยู 600/19 ถนนมิตรภาพ อําเภอเมือง จังหวัดพษิณุโลก 65000 ประวัติการศึกษา

พ.ศ. 2538 สําเร็จการศึกษา วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเซรามิกส สถาบันราชภัฎพิบูลสงคราม จังหวดัพิษณุโลก

พ.ศ. 2548 สําเร็จการศึกษาศิลปมหาบณัฑิต สาขาวิชาเครื่องเคลือบดินเผา บัณฑิตวิทยาลยั คณะมัณฑนศิลป มหาวทิยาลัยศิลปากร

การแสดงงาน

พ.ศ. 2541 ผลงานเขารวมแสดงงานเครือ่งปนดินเผาแหงชาติ คร้ังที่ 9 พ.ศ. 2543 ผลงานเขารวมแสดงงานเครือ่งปนดินเผาแหงชาติ คร้ังที่ 10 พ.ศ. 2545 ผลงานเขารวมแสดงงานเครือ่งปนดินเผาแหงชาติ คร้ังที่ 11 พ.ศ. 2547 ผลงานเขารวมแสดงงานเครือ่งปนดินเผาแหงชาติ คร้ังที่ 12 พ.ศ. 2547 รวมแสดงงานเครื่องเคลือบดินเผา 4 ภาค พ.ศ. 2547 รวมแสดงงาน CLAY AND THE WAL OF US NO 2 พ.ศ. 2547 รวมแสดงงาน กาลิเลโอคีนิ กับสีสันแหงโลกตะวนัออก

เกียรติประวัต ิ

พ.ศ. 2543 ไดรับรางวัลชมเชย การประกวดบรรจภุณัฑไทยประเภทของขวัญ (ผลิตเปนตนแบบกระดาษสา)

พ.ศ. 2544 ไดรับรางวัลชมเชย การประกวดผลิตภณัฑเซรามิกสและบรรจุภัณฑ จัดโดยสถาบนัวิทยาศาสตรแหงประเทศไทย

top related