วารสารประจำเดือนมกราคม 2556

17
25/17-18 Mahachai Muangthong Village, Sahakhon Road, Bang Yah Praek Sub-district, Samutsakhon Province 74000 Thailand :: Tel : (+66) 034 434726, 086 1631390 E-Book :: วารสารอิเล็ททอนิครายเดือน E-Book :: วารสารอิเล็ททอนิครายเดือน ©ºÑº·Õè 1 »ÃШÓà´×͹ Á¡ÃÒ¤Á 2556 ÁÙŹԸÔà¤Ã×Í¢‹ÒÂÊ‹§àÊÃÔÁ¤Ø³ÀÒ¾ªÕÇÔµáç§Ò¹ Labour Rights Promotion Network Foundation ¢‹ÒÇÊÒà ¡Ô¨¡ÃÃÁ¢Í§ÁÙÅ¹Ô¸Ô Ï Ê¶Ò¹¡Òó´ŒÒ¹áç§Ò¹¢ŒÒÁªÒµÔ Ê×èÍ»ÃЪÒÊÑÁ¾Ñ¹¸ÃÒÂà´×͹

Upload: labour-rights-promotion-network-foundation-lpn

Post on 29-Mar-2016

225 views

Category:

Documents


0 download

DESCRIPTION

ฉบับแรกครับ กับการรายงานสถาการณ์ความเคลื่อนไหวด้านแรงงาน และกิจกรรม มูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน LPN

TRANSCRIPT

25/17-18 Mahachai Muangthong Village, Sahakhon Road, Bang Yah Praek Sub-district,Samutsakhon Province 74000 Thailand :: Tel : (+66) 034 434726, 086 1631390

E-Book :: วารสารอิเล็ททอนิครายเดือนE-Book :: วารสารอิเล็ททอนิครายเดือน©ºÑº·Õè 1 »ÃШÓà´×͹ Á¡ÃÒ¤Á 2556

ÁÙŹԸÔà¤Ã×Í¢‹ÒÂÊ‹§àÊÃÔÁ¤Ø³ÀÒ¾ªÕÇÔµáç§Ò¹Labour Rights Promotion Network Foundation

¢‹ÒÇÊÒà ¡Ô¨¡ÃÃÁ¢Í§ÁÙÅ¹Ô¸Ô Ï

ʶҹ¡Òó�´ŒÒ¹áç§Ò¹¢ŒÒÁªÒµÔ

Ê×èÍ»ÃЪÒÊÑÁ¾Ñ¹¸�ÃÒÂà´×͹

หรือ Labour Rights Promotion Network Foundation (LPN) ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2551 ซึ่งก่อนหน้านั้น 4 ปี ได้ดำเนินการภายใต้คณะบุคคล รวมกลุ่มกันขึ้นเพื่อการทำงานภาคประชาสังคม และเกาะเกี่ยวประเด็นแรงงานข้ามชาติเป็นหลักในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร ชื่อ “เครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน” มาตั้งแต่ปลายปี 2547 โดยการเริ่มต้นของเครือข่ายฯ คือการสัมผัสปัญหาอย่างใกล้ชิด กับพี่น้องแรงงานข้ามชาติจังหวัดสมุทรสาครได้มองเห็นปัญหารากเหง้าจริงๆ ของแรงงานข้ามชาติ ครอบครัว บุตร และผู้ติดตามที่มาอาศัย ทำงานในจังหวัดซึ่งมีแรงงานข้ามชาติจากสามสัญชาติคือ พม่า ลาว และกัมพูชา แต่มีแรงงานพม่ามากที่สุดกว่าร้อยละ 90 แรงงานข้ามชาติโดยการประมาณการณ์จำนวนไม่น้อยกว่า 300,000 คน ส่วนหนึ่งที่เข้ามาหาที่พึ่งทางด้านเศรษฐกิจ หลายคนมีงานทำ มีรายได้ที่ดีเพียงพอ แต่ส่วนใหญ่ต้องเผชิญปัญหาที่ไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ ไม่สามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานสิทธิ ทางสุขภาพ สิทธิการศึกษา สิทธิขั้นพื้นฐานการทำงาน สิทธิแรงงาน สิทธิที่พึงได้รับตามกรอบรัฐธรรมนูญและกฎหมายไทย และหรือตามอนุสัญญาระหว่างประเทศต่างๆที่ไทยลงสัตยาบันไว้หลายฉบับ ไม่ได้รับการคุ้มครองทางด้านสังคมที่ดีเพียงพอ และที่สำคัญ แรงงานข้ามชาติ เป็นหนึ่งกลุ่มที่มีโอกาสเสี่ยงมาก ต่อการถูกคุกคามต่างๆ นานา ถูกแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ ถูกค้ามนุษย์จากกระบวนการค้ามนุษย์ เป็นต้น

มูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน

เรื่องบอกเล่าประจำฉบับ

สวัสดีครับทุกท่าน ก่อนอื่นในวาระดิถีขึ้นปีใหม่นี้ ก็ขอให้เป็นปีดี ๆ ของทุก ๆ ท่านนะครับ ขอจงมีแต่ความสุขความเจริญกันทั่วหน้า สำหรับวารสารรายเดือน เพื่อเป็นสื่อกลางในการประชาสัมพันธ์ กิจกรรม ข่าวสารของมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน LPN ตลอดจนสถานการณ์ความเคลื่นอไหวด้านแรงงาน โอกาสดี กับช่องทางการรับข่าวสาร สถารการณ์ด้านต่าง ๆ สำหรับพี่น้องแรงงานข้ามชาติ โดมมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน LPN ได้ร่วมกับบริษัทตัวแทนจากค่ายโทรศัพท์ DTAC เปิดช่องทางในการส่งข่าวสารภาษาพม่าด้วยระบบ SMS ที่จะมีข่าวสารด้านแรงงานที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศไทยและข่าวสารจากประเทศพม่า... สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งแห่งประเทศไทย ได้ส่งเสริมการช่วยเหลือปัญหาด้านแรงงาน โดยร่วมกับทางมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน เปิดสายตรง Hotline ช่วยเหลือแรงงานที่มีปัญหาเกี่ยวกับการทำงาน

“ สมุทรสาคร ” กับจังหวัดที่อยู่ติดกับเมืองหลวงท่ามกลางสังคมที่ความเจริญทางเศรษฐกิจเป็นลำดับต้น ๆ ของประเทศไทย คงไม่มีใครที่จะกล่าว ถึง “ เด็กข้ามชาติ ” ที่เป็นบุตรหลาน หรือผู้ติดตามของแรงงานข้ามชาติ ทั้งที่เกิดในประเทศไทย และตามเข้ามากับผู้ปกครอง เนื่องจากเด็กกลุ่มดังกล่าวจัดได้ว่ามีความเปาะบางในด้านสถานะทางกฎหมายจึงขาดความตระหนัก การเอาใจใส่และดูแลจากสังคม ถูกเลือกปฏิบัติ บางครั้งถูกแสวงหาผลประโยชน์ กลับกลายเป็นปัญหาต่อสังคม เด็กบางส่วนมีโอกาสเข้าเรียนในระบบโรงเรียนแต่ก็ยังถือเป็นส่วนน้อย ทั้งนี้พบว่ายังมีเด็กเป็นจำนวนมากที่ยังไม่สามารถ เข้าถึงระบบการศึกษา บ้างอาศัยอยู่ตามชุมชนแรงงาน หรือบางคนก็เข้าสู่ระบบแรงงานก่อนวัยอันควรด้วยการเป็น “ แรงงานเด็ก ” สำหรับ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก เป็นสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่ได้รับความเห็นชอบมากที่สุดในโลก ซึ่งโดยรวมของเนื้อหาคือ เด็กมีสิทธิที่จะมีชีวิตอยู่รอด เด็กมีสิทธิที่จะได้รับการพัฒนา เด็กมีสิทธิที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครอง และเด็กมีสิทธิที่ในการมีส่วนร่วม ซึ่งก็คือเด็กทุก ๆ คนจะต้องได้รับการดูแล และได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันในมิติทางสังคม

วันเด็กแห่งชาติประจำปี 2556

โอกาสนี้ขอขอบพระคุณ ผู้ใหญ่ใจดีหลายท่าน ที่สนับสนุนกิจรรม สำหรับเด็ก ๆ ข้ามชาติไม่ว่าจะเป็นของขวัญ ของรางวัล ต่าง ๆ ตลอดจนทุนการศึกษาจากบริษัท ส.สมพลการค้า ที่ให้สนับสนุนการประกวดภาพวาดในกิจกรรมครั้งนี้ด้วยครับ

ศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาด้านแรงงาน และคดีความ

Labour Center :: LC-LPN สำหรับในปีนี้ 2556 ทางมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน LPN ได้ร่วมกับทาง สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งแห่งประเทศไทย เปิดศูนย์ ฯ ดำเนินการเพื่อช่วยเหลือ และให้คำปรึกษาปัญหาในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของ แรงงาน ทั้งที่เป็นแรงงานไทย แรงงานข้ามชาติ และรวมไปถึงกลุ่มนายจ้าง หรือ สถานประกอบการ ที่ต้องการคำปรึกษา

ภารกิจการทำงาน / ประเด็นที่เกี่ยวข้อง - การให้คำปรึกษาปัญหา และช่วยเหลือดำเนินการ ในการเป็นตัวกลางประสานงานระหว่างหน่วยงาน องค์กรที่เกี่ยวข้อง - สนับสนุนกระบวนการ การให้ความช่วยเหลือต่อหน่วยงาน ภาคี เครือข่าย ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน(NGOs) - สนับสนุนการต่อต้าน การค้ามนุษย์ และให้การช่วยเหลือแรงงาน ผู้เสียหาย จากการค้ามนุษย์ โดยร่วมกับ DSI ปคม. กระทรวงการพัฒนาสังคม ฯ และ เจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่ รวมถือ เครือข่ายปฏิบัติการต่อต้านการค้ามนุษย์ ATN

โมบาย :: สิ่งแวดล้อมมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน

เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมภายใต้โครงการ ฯ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่น ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวเป็นการรณรงค์ สิ่งแวดล้อมในชุมชนแรงงานข้ามชาติ 7ชุมชน ในพื้นที่อำเภอเมืองจังหวัดสมุทรสาคร ทั้งนี้มีการอบรมกลุ่มแกนนำแรงงาน ตามแต่ล่ะชุมชน และร่วมกันทำความสะอาด ชุมชน อาคารที่พักอาศัย ซึ่งต่างได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากพี่น้องแรงงานข้ามชาติ และเจ้าของกิจการห้องพัก

สถานการณ์แรงงานข้ามชาติโดย :: สามัญชน คนธรรมดา

ต่อลมหายใจ ... แรงงานข้ามชาติ กับการขยายเวลาพิสูจน์สัญชาติ เป็นที่รับทราบเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2556 ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามมติคณะกรรมการบริหารแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง(กบร.) ในการประชุมของ กบร.ครั้งที่ 3/2555 เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2555 ให้ผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ที่ลักลอบทำงานอยู่กับนายจ้างในประเทศไทยอยู่แล้วรวมทั้งบุตรของแรงงานต่างด้าวดังกล่าวที่อายุไม่เกิน 15 ปี อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษเป็นเวลา 120 วัน เพื่อดำเนินการให้ได้รับหนังสือเดินทางชั่วคราว (Temporary Passport) หรือเอกสารรับรองบุคคล (Certificate of Identity) จากประเทศต้นทาง และได้รับอนุญาตให้เป็นผู้เดินทางเข้าประเทศอย่างถูกกฎหมาย พร้อมกับได้รับอนุญาตทำงานเฉพาะ กับนายจ้างเดิมต่อไป โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ตามมติ กบร. ตามที่กระทรวงแรงงานได้เสนอดังนี้

1) กระทรวงมหาดไทย ดำเนินการ(1) ออกประกาศผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมาย สัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ลักลอบทำงานอยู่กับนายจ้างในประเทศไทยอยู่แล้ว รวมทั้งบุตรของแรงงานต่างด้าวดังกล่าวที่อายุไม่เกิน 15 ปี อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษเป็นเวลา 120 วัน เพื่อให้นายจ้างพาไปดำเนินการขอรับหนังสือเดินทาง (Temporary Passport)หรือเอกสารรับรองบุคคล (Certificate of Identity) จากประเทศต้นทาง ขอรับการตรวจลงตรา และใบอนุญาตทำงานตามขั้นตอนดำเนินการของกรมการจัดหางาน และไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง 2522 รวมทั้งออกประกาศรับรองการใช้เอกสารแทนหนังสือเดินทาง และออกประกาศยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ สำหรับแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว กัมพูชาโดยมิให้นำบทบัญญัติตามมาตรา 12(3) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง 2522 มาบังคับใช้กับแรงงานที่ได้รับหนังสือเดินทาง (Temporary Passport)หรือเอกสารรับรองบุคคล (Certificate of Identity) ให้สามารถใช้หลักฐานดังกล่าว ขอรับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว(Non-Immigrant-LA) และประทับตราอนุญาตให้อยู่ได้เป็นเวลา 2 ปี และสามารถทำงานเป็นกรรมกร หรือรับจ้างทำงานด้วยกำลังกายได้ (ในกรณีที่ประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับเดินไม่ครอบคลุม)2) สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ดำเนินการรับตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว(Non-Immigrant-LA) และประทับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นเวลา 2 ปี ให้แก่แรงงานต่างด้าวสัญชาติ พม่า ลาว และกัมพูชา รวมทั้งตรวจลงตราประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรในลักษณะผู้ติดตามแก่บุตรของแรงงานต่างด้าวดังกล่าวที่อายุไม่เกิน 15 ปี ซึ่งได้รับหนังสือเดินทางชั่วคราว (Tempo-rary Passport) หรือเอกสารรับรองบุคคล (Certificate of Identity) และสามารถขออยู่ในราชอาณาจักรได้อีกครั้งเดียวระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี ณ ด่านตรวจคนเข้าเมือง หรือสถานที่กรมจัดหางานกำหนดโดยจัดค่าธรรมเนียมในอัตรา 500 บาท และสามมารถขออยู่ต่อได้อีกครั้งเดียวค่าธรรมเนียมในอัตรา 500 บาท เช่นกัน สำหรับอัตราค่าธรรมเนียมการตรวจลงตราของบุตรแรงงานต่างด้าวตังกล่าว ในระหว่างที่กฏกระทรวงลดอัตราค่าธรรมเนียมยังไม่มีผลบังคับใช้ให้จัดเก็บค่าธรรมเนียมในอัตราปกติ3) กระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการรับตรวจสุขภาพแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ที่ได้รับการผ่อนผันให้อยู่ในราชอาณาจักร ตามที่นายจ้างได้ยื่นคำร้องขอจ้างแรงงานต่างด้าวไว้กับกรมการจัดหางาน และประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวที่ทำงานในกิจการที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขึ้นทะเบียนประกันสังคม รวมทั้งประกันสุขภาพผู้ติดตามแรงงานต่างด้าว

4) กรมการจัดหางาน ดำเนินการดังนี้(1 ) จัดตั้งศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) ในท้องที่ที่เห็นว่าเหมาะสมเพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินการให้กับนายจ้างและแรงงานต่างด้าว(2) รับแบบคำร้องขอจ้างแรงงานต่างด้าว พร้อมบัญชีรายชื่อแบบคำร้องขอนำเข้าแรงงานต่างด้าว Demand Letter พร้อมใบโควตา สัญญาจ้าง และหลักฐานอื่นๆ ตามที่กรมการ จัดหางานกำหนด ภายใน 1 เดือน และส่งให้ประเทศต้นทางเพื่อดำเนินการต่อไป(3 ) ประชาสัมพันธ์ แจ้งนายจ้างพาแรงงานต่างด้าวไปขอรับหนังสือเดินทางชั่วคราว (Tempo-rary Passport) หรือเอกสารรับรองบุคคล (Certificate of Identity) ณ ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) ที่จัดตั้งขึ้น(4 ) รับคำขออนุญาตทำงานตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551 (ตท.2) และจัดเก็บค่าธรรมเนียมในอัตราที่กฎหมายกำหนด(5 ) อนุญาตทำงานให้กับแรงงานต่างด้าว กรณีแรงงานต่างด้าวไม่ผ่านการตรวจสุขภาพ ให้ยกเลิกการอนุญาต คืนค่าธรรมเนียม และแจ้งข้อมูลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป(6 ) การจัดทำข้อมูล ( Bio Data) โดยการจัดเก็บภาพใบหน้าและพิมพ์ลายนิ้วมือแรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงาน5 ) กระทรวงการต่างประเทศ ดำเนินการมอบอำนาจให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองมีอำนาจในการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว (Non-Immigrant-LA) แก่แรงงานต่างด้าว สัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา รวมทั้งลงตราในลักษณะผู้ติดตามแก่บุตรของแรงงานต่างด้าวดังกล่าวที่อายุไม่เกิน 15 ปี ซึ่งได้รับหนังสือเดินทางชั่วคราว (Temporary Passport) หรือเอกสารรับรองบุคคล (Certificate of Identity) โดยให้มีอำนาจการตรวจลงตรา (visa) ณ ด่านตรวจคนเข้าเมือง หรือสถานที่ที่กรมการจัดหางานกำหนด6) สำนักงานประกันสังคม ดำเนินการให้แรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551 เข้าสู่ระบบประกันสังคมตามที่กฎหมายกำหนด สำหรับแรงงานต่างด้าวที่ทำงานในกิจการที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขึ้นทะเบียนประกันสังคมให้นายจ้างเป็นผู้รับผิดชอบในลักษณะเช่นเดียวกับแรงงานที่เป็นคนไทย โดยให้เลือกซื้อประกันสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข หรือประกันสุขภาพกับบริษัติเอกชน

7) กระทรวงการคลัง ดำเนินการสนับสนุนงบประมาณเพื่อให้ดำเนินการตามกระบวนการผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษเพื่อดำเนินการอย่างถูกต้องตามกฎหมาย รวมทั้งการจัดทำข้อมูล ( Bio Data ) เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ8) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการดังนี้(1 ) ผ่อนผันดำเนินการตามสมควรแก่กรณี กับนายจ้าง แรงงานต่างด้าว ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินการตามกระบวนการผ่อนผันให้แรงงาสนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษเพื่อดำเนินการอย่างถูกต้องตามกฎหมาย นับตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ( 2 ) ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่อย่างเคร่งครัด ภายหลังสิ้นสุดการผ่อนผันให้อยู่ในราชอาณาจักร เพื่อป้องกันแรงงานต่างด้าวรายใหม่ลักรอบเข้ามาทำงาน รวมทั้งนายจ้างที่ลักรอบจ้างแรงงานต่างด้าว ผู้นำพา และผู้ให้ที่พักพิงแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย

บทความประจำฉบับโดย :: สามัญชน คนธรรมดา

จิตใจ ความเชื่อมั่น มุ่งมั่น ของมนุษย์และการได้มาซึ่งสัญชาติพม่า

กระบวนการดำเนินการนั้นมีวิธีการที่ออกมาดีสำหรับคนไทย แต่กรณีตัวอย่าง แรงงานข้ามชาติ นางเต้ย(นามสมมุติ) เข้ามาทำงานที่ประเทศไทยเดินทางผ่านด่านอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี เข้ามาทำงานในประเทศไทยประกอบอาชีพรับจ้างในโรงงานอุตสาหกรรมประมงต่อเนื่องแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร ทำงานมา ๓ ปี มีบุตรซึ่งสามีได้อย่าร้างกันไปบุตรคนที่ ๑ มีสัญชาติพม่า และสามารถเข้าเรียนในระบบการศึกษาไทยได้ต่อมานางเต้ย(นามสมมุติ)ได้ชอบกับนายแดง (นามสมมุติสัญชาติไทย)และได้อยู่กินแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันในประเทศไทย นางเต้ยได้เกิดตั้งครรภ์ได้ ๖ เดือน นายแดงซึ่งเป็นสามีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ได้ติดต่อกลับมา ส่วนนางเต้ยตั้งครรภ์ ต่อจากนั้นนางเต้ยกับญาติฝ่ายตนได้ไปฝากครรภ์ที่สถานพยาบาลของรัฐ ในจังหวัดสมุทรสาคร นางเต้ยคลอดบุตรที่โรงพยาบาล และมีการดำเนินการใบรับรองการเกิด ซึ่งระบุสัญชาติว่าลูกตอนนั้นเป็น สัญชาติไทย แต่นางเต้ยเอง ก็ได้ดำเนินการเพื่อขอใบเกิด (สูติบัตร) ระยะเวลานั้นทางนายทะเบียนจำเป็นต้องหาพยานหรือบิดาเพื่อทำการรับรองสัญชาติแต่เนื่องจากนายแดง ไม่มีการติดต่อและไม่ได้มารับผิดชอบต่อบุตรขั้นตอนความยากลำบากของนางเต้ย เริ่มจากหากวิเคราะห์แรงงานข้ามชาติหากมีการติดต่อที่สถานพยาบาล เบื้องต้นเพื่อขอหลักฐานนั้นทางสถานพยาบาลจะจัดส่งที่อำเภอหรือทะเบียน คำพูดที่แนะนำสำหรับเจ้าหน้าที่สถานพยาบาลคือการแนะนำให้ไปตรวจ ที่โรงพยาบาลราชวิถี คิดดูถ้าเป็นคนไทยเองนั้นการเดินทางคงจะไม่ประสบปัญหาแต่ถ้าเป็นแรงงานข้ามชาติและมีบุตรเล็กอยู่แล้วคลอดไม่กี่เดือน จะต้องเดินทางไปเพื่อตรวจเลือดดูว่าเป็นลูกของตน จากการดิ้นรนเพื่อให้ได้ใบเกิดนางเต้ยเองไม่ยอม คิดน้อยเนื้อต่ำใจว่าทำไมคนที่เป็นพ่อทำไมไม่รับผิดชอบ จึงคิดตัดสินใจว่าควรจะเปลี่ยนจากสัญชาติไทยให้เป็นสัญชาติพม่าตามตนเองเพื่อที่จะส่งลูกและตนจะกลับไปใช้ชีวิตที่พม่า ถึงแม้ประเทศไทยจะมีความเจริญและมีสวัสดิการดีก็ตาม นางเต้ย ตัดสินใจเข้าไปติดต่อที่เทศบาลอีกครั้ง ครั้งแรกนายทะเบียนแนะนำให้หาหลักฐานพยานบุคคลคือ ผู้ใหญ่บ้าน นายจ้าง ข้าราชการ ลองวิเคราะห์ดูว่าแรงงานข้ามชาติในจังหวัดสมุทรสาครมีจำนวนมากที่ขนาดทางหน่วยงานราชการยังไม่มีฐานข้อมูลเลยว่ามีจำนวนเท่าไหร่ นางเต้ยเป็นแรงงานข้ามชาติทำงานในประเทศไทย เชื้อสายมอญ จะรู้จักหรือเปล่าว่าบ้านผู้ใหญ่อยู่ไหน โชคดีที่นายจ้างทางบริษัทให้โอกาส ช่วยเหลือนางเต้ย สามารถติดต่อผู้ใหญ่เพื่อจะยืนยันว่าบุตรของนางเต้ยเกิดที่สมุทรสาครจริง นายจ้างก็จะมายืนยันว่านางเต้ยได้ทำงานที่โรงงานและสมุทรสาครจริง ความยากลำบากที่สำคัญคือ ข้าราชการ ที่จะมาเป็นพยาน ให้ นิสัยคนไทยถ้าไม่มีอะไรตอบแทนหรือผลประโยชน์ข้าราชการเองก็ไม่กล้าที่จะรับรองเพราะไม่ใช่เรื่องของตน ทำให้ความยากลำบากมีมากขึ้น ทางนายทะเบียนนัดสอบปากคำเพื่อยืนยันการเปลี่ยนจากสัญชาติไทยเป็นพม่า ในเดือนมกราคม ๕๖ นางเต้ยหาพยานบุคคลได้คือนายจ้าง ผู้ใหญ่บ้าน แต่ขาดข้าราชการ รับรอง จากนั้นเองนางเต้ยจะไปหาที่ไหนใครจะไปช่วยรับรองบุตรแรงงานข้ามชาติ โชคเข้าข้างนางเต้ยที่รู้จักกับองค์กรเอกชนที่พอจะไปขอความช่วยเหลือจากข้าราชการที่ทำงานและช่วยเหลือเด็กข้ามชาติ แต่กระนั้นเองได้ข้าราชการไปก็ประสบปัญหาเพราะการเปลี่ยนแปลงสัญชาติเพื่อป้องการเรียกร้องหรือการร้องขอสัญชาติไทยภายหลังทำให้ข้าราชการต้องมีการรับรอง ครั้งที่สองที่ไปที่เทศบาลนั้น มีพยานครบทั้งผู้ใหญ่บ้าน นายจ้าง ข้าราชการแต่ก็เจอปัญหาเพราะไม่ใช้ข้าราชการประจำจึงทำให้นางเต้ย เองต้องหาอีกว่าข้าราชการที่ได้รับการประเมินและมีการบรรจุจริงมาเป็นพยาน สุดท้ายก็ต้องรออีกแต่โชคเข้าข้างนางเต้ยทางข้าราชการครูประจำนั้นเป็นเพื่อนกับข้าราชการที่ยังไม่บรรจุจึงเข้ามาช่วยเหลือและได้เป็นพยาน ซึ่งที่เทศบาลความหวังของคนไม่มีสถานะนั้นมาขอแจ้งเกิดเยอะทั้งคนไทยเอง แรงงานข้ามชาติเองจนทำให้สมุทรสาครอาจมีปัญหาเรื่องทะเบียนราษฎร์ที่อาจเรื้อรัง

สิทธิขั้นพื้นฐานที่ถูกจำกัดและไม่ถูกจำกัดสามารถแยกประเภทออกได้ดังนี้ สิทธิในการได้รับการจดแจ้งการเกิด สิทธิในการเข้าสู่กระบวนการรับการศึกษาและพัฒนาความรู้ความสามารถ สิทธิในการทำงาน สิทธิในการประกอบธุรกิจและการค้า สิทธิในการเข้ารับบริการด้านสาธารณสุข สิทธิการเดินทาง สิทธิในการจดทะเบียนก่อตั้งครอบครัว สิทธิในการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ในที่นี้ขอยกตัวอย่างเพียงประเด็นแรก คือสิทธิในการได้รับการจดแจ้งการเกิด ซึ่งเป็นไปตาม พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พุทธศักราช ๒๕๓๔ สาระสำคัญแห่งสิทธิคือบุคคลทุกคนไม่ว่าจะมีสถานะใดหรือแม้แต่ไม่มีเอกสารพิสูจน์ตนใดๆเลยหากมีบุตรที่เกิดในประเทศไทยบุตรคนดังกล่าว ต้องได้รับการจดแจ้งการเกิดซึ่งมีการดำเนินการคือหากที่เกิดที่สถานพยาบาลหรือผู้ทำคลอดเป็นผู้มีวิชาชีพโดยตรง อันนี้ทางสถานพยาบาลต้องออกใบรับรองการเกิด ให้แก่ บิดา ,มารดา หรือเจ้าบ้านแห่งสถานที่ที่คลอดเพื่อเป็นหลักฐานว่ามีการเกิดจริง ตามบทบัญญัติ หรือที่เรียกว่าแบบพิมพ์ ท.ร.๑/๑ ซึ่งใช้เฉพาะ โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลโดยอาชีพเท่าน้ันถือว่าเป็นเอกสารราชการโดยเฉพาะสถานพยาบาลของรัฐ มีอยู่สองส่วนด้วยกันส่วนตอนที่ ๑ จะมอบให้ผู้ปกครอง บิดาหรือมารดา ตอนที่ ๒ เก็บไว้ที่โรงพยาบาลเพื่อเป็นฐานข้อมูล หากการเกิดในชุมชนหรือหมู่บ้านในส่วนนี้หากมีการเกิด ผู้มีหน้าที่ต้องแจ้งการเกิดสามารถแจ้งถึงเหตุแห่งการเกิดบุคคล ต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งในชุมชนหรือในหมู่บ้านเพื่อขออกเอกสารรับแจ้งการเกิด ทั้งนี้การขอใบรับแจ้งการเกิดนั้นเป็นไปตามประการสำนักทะเบียนกลาง หรือการแต่งตั้ง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เป็นนายทะเบียนรับแจ้ง ทร.๑ ตอนหน้า เมื่อมีการแจ้งเกิดหน้าที่ของนายทะเบียนที่จะต้องออก”สูติบัตร”ให้เป็นหลักฐานแก่ผู้แจ้ง

กรณีการแจ้งเกิดของบุคคลที่มีสัญชาติไทยและแจ้งภายกำหนด โดยนายอำเภอมีหน้าที่เรียกตรวจพยานเอกสารต่างๆทั้งของบุตรที่เกิดและของบิดามารดา หากเชื่อได้ว่าเป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทยและเกิดในประเทศไทยจริงก็จะดำเนินการออกสูติบัตรให้แก่ผู้แจ้ง โดยสูติบัตรเป็นไปตามแบบพิมพ์ ท.ร. ๑ หากบุคคลที่มีการแจ้งเกิดที่มีสัญชาติไทยแต่ไม่ได้แจ้งภายในกำหนดก็จะถูกเปรียบเทียบปรับโดยนายอำเภอดำเนินการไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท และดำเนินการตรวจสอบพยานหลักฐานต่างๆ สอบสวนผู้แจ้ง บิดาและมารดาของบุตรที่เกิด เพื่อทราบสาเหตุในการไม่ดำเนินการแจ้งเกิดภายในกำหนด ทีนี้การแจ้งการเกิดของบุคคลต่างด้าว (บุคคลไม่มีสัญชาติไทย) เหมือนกันกับแจ้งเกิดคนสัญชาติไทยแต่สูติบัตรจะเป็นแบบประเภท ท.ร.๓ เป็นสำหรับคนไม่มีสัญชาติไทย หน้าที่ทั้งสามการแจ้งเกิดนั้นกระบวนการทั้งสามนั้นนายทะเบียนจะต้องดำเนินการกำหนดเลข ๑๓ ให้แก่เด็กที่เกิดตามมาตรา ๑ต เพื่อเป็นการเก็บข้อมูลทะเบียนประวัติราษฎร รวมทั้งเพิ่มชื่อของเด็กที่เกิดเข้าไปในทะเบียนบ้านซึ่งอาจเป็นทะเบียนบ้านประเภท ท.ร.๑๔,ท.ร.๑๓ หรือทะเบียนกลางแล้วแต่กรณี การแจ้งการเกิดต่อนายทะเบียนในปัจจุบันไม่ต้องแจ้งยังสำนักทะเบียนแห่งท้องที่แห่งที่เกิดแล้ว โดยสามารถแจ้ง ณ สำนักทะเบียนก็ได้ในกรณีที่ไม่มีหนังสือรับรองการเกิด ผู้แจ้งการเกิดอาจใช้ผลการตรวจทางวิทยาศาสตร์ เช่น การตรวจสารพันธุกรรม ที่ตรวจพิสูจน์ จากหน่วยงานของรัฐ หรือสถาบันที่มีความน่าเชื่อถือ เพื่อเป็นหลักฐานพิสูจน์ความเป็นบิดาหรือมารดาและบุตรแทนได้ โดยสาระสำคัญจะคล้ายกับวีการแจ้งเกิดเกินกำหนด คือจ้องมีการสอบปากคำพยานบุคคล ว่าเด็กเกิดในท้องที่อื่นดังที่แจ้งจริงพร้อมทั้งยืนยันความเป็นบิดามารดาของบุตรด้วยแต่หากไม่มีพยานบุคคลก็จะใช้การตรวจ DNA เข้าพิสูจน์ความสัมพันธ์แทน

จากนั้นมีการเป็นพยานเรื่องน่าจะเสร็จแต่นายทะเบียนเรียกเอกสารประกอบทะเบียนบ้านนายจ้างพยานและข้าราชการจึงขาดเพียงทะเบียนบ้านของข้าราชการประจำ ปัจจุบันยังไม่มีสถานะบุคคลสำหรับบุตรนางเต้ย เนื่องจากต้องดำเนินการเรื่องเอกสารทะเบียนบ้านแต่ก็ไม่น่าจะมีปัญหาเพราะดำเนินการมาครบกระบวนการแล้ว นี่เพียงตัวอย่างผู้ประสบปัญหาที่สามารถติดต่อได้ครบพยานทุกฝ่ายแต่สมุทรสาครเองนั้นมีบุตรแรงงานข้ามชาติที่มีจำนวนเยอะ สถานะผู้ติดตาม เด็กที่คลอดในสถานพยาบาลแล้วใบรับรองการเกิดไม่ปรากฏหลักฐาน การแจ้งเกิดช้า สภาพปัญหาจึงมีมากที่ส่งผลกระทบต่อสถานะบุคคลของเด็กข้ามชาติ ในจังหวัดสมุทรสาครเชื่อมโยงไปยังสิทธิในการเข้าสู่กระบวนการรับการศึกษา และพัฒนาความรู้ความสามารถ สิทธิในการทำงาน สิทธิในการประกอบธุรกิจและการค้า สิทธิในการเข้ารับบริการด้านสาธารณสุข สิทธิการเดินทาง ลูกโว่เหล่านี้เกิดจากหลักฐานที่มีปัญหาตั้งแต่เกิดมาของเด็กถือว่าเป็นหัวใจสำคัญที่ส่งผลในระยะยาว การแก้ไขปัญหาจึงต้องมีการให้คำปรึกษาและหารรูปแบบร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐผู้ให้บริการและแรงงานข้ามชาติผู้รับบริการต่อไป

บทความประจำฉบับโดย :: สามัญชน คนธรรมดา

จิตใจ ความเชื่อมั่น มุ่งมั่น ของมนุษย์และการได้มาซึ่งสัญชาติพม่า

กระบวนการดำเนินการนั้นมีวิธีการที่ออกมาดีสำหรับคนไทย แต่กรณีตัวอย่าง แรงงานข้ามชาติ นางเต้ย(นามสมมุติ) เข้ามาทำงานที่ประเทศไทยเดินทางผ่านด่านอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี เข้ามาทำงานในประเทศไทยประกอบอาชีพรับจ้างในโรงงานอุตสาหกรรมประมงต่อเนื่องแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร ทำงานมา ๓ ปี มีบุตรซึ่งสามีได้อย่าร้างกันไปบุตรคนที่ ๑ มีสัญชาติพม่า และสามารถเข้าเรียนในระบบการศึกษาไทยได้ต่อมานางเต้ย(นามสมมุติ)ได้ชอบกับนายแดง (นามสมมุติสัญชาติไทย)และได้อยู่กินแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันในประเทศไทย นางเต้ยได้เกิดตั้งครรภ์ได้ ๖ เดือน นายแดงซึ่งเป็นสามีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ได้ติดต่อกลับมา ส่วนนางเต้ยตั้งครรภ์ ต่อจากนั้นนางเต้ยกับญาติฝ่ายตนได้ไปฝากครรภ์ที่สถานพยาบาลของรัฐ ในจังหวัดสมุทรสาคร นางเต้ยคลอดบุตรที่โรงพยาบาล และมีการดำเนินการใบรับรองการเกิด ซึ่งระบุสัญชาติว่าลูกตอนนั้นเป็น สัญชาติไทย แต่นางเต้ยเอง ก็ได้ดำเนินการเพื่อขอใบเกิด (สูติบัตร) ระยะเวลานั้นทางนายทะเบียนจำเป็นต้องหาพยานหรือบิดาเพื่อทำการรับรองสัญชาติแต่เนื่องจากนายแดง ไม่มีการติดต่อและไม่ได้มารับผิดชอบต่อบุตรขั้นตอนความยากลำบากของนางเต้ย เริ่มจากหากวิเคราะห์แรงงานข้ามชาติหากมีการติดต่อที่สถานพยาบาล เบื้องต้นเพื่อขอหลักฐานนั้นทางสถานพยาบาลจะจัดส่งที่อำเภอหรือทะเบียน คำพูดที่แนะนำสำหรับเจ้าหน้าที่สถานพยาบาลคือการแนะนำให้ไปตรวจ ที่โรงพยาบาลราชวิถี คิดดูถ้าเป็นคนไทยเองนั้นการเดินทางคงจะไม่ประสบปัญหาแต่ถ้าเป็นแรงงานข้ามชาติและมีบุตรเล็กอยู่แล้วคลอดไม่กี่เดือน จะต้องเดินทางไปเพื่อตรวจเลือดดูว่าเป็นลูกของตน จากการดิ้นรนเพื่อให้ได้ใบเกิดนางเต้ยเองไม่ยอม คิดน้อยเนื้อต่ำใจว่าทำไมคนที่เป็นพ่อทำไมไม่รับผิดชอบ จึงคิดตัดสินใจว่าควรจะเปลี่ยนจากสัญชาติไทยให้เป็นสัญชาติพม่าตามตนเองเพื่อที่จะส่งลูกและตนจะกลับไปใช้ชีวิตที่พม่า ถึงแม้ประเทศไทยจะมีความเจริญและมีสวัสดิการดีก็ตาม นางเต้ย ตัดสินใจเข้าไปติดต่อที่เทศบาลอีกครั้ง ครั้งแรกนายทะเบียนแนะนำให้หาหลักฐานพยานบุคคลคือ ผู้ใหญ่บ้าน นายจ้าง ข้าราชการ ลองวิเคราะห์ดูว่าแรงงานข้ามชาติในจังหวัดสมุทรสาครมีจำนวนมากที่ขนาดทางหน่วยงานราชการยังไม่มีฐานข้อมูลเลยว่ามีจำนวนเท่าไหร่ นางเต้ยเป็นแรงงานข้ามชาติทำงานในประเทศไทย เชื้อสายมอญ จะรู้จักหรือเปล่าว่าบ้านผู้ใหญ่อยู่ไหน โชคดีที่นายจ้างทางบริษัทให้โอกาส ช่วยเหลือนางเต้ย สามารถติดต่อผู้ใหญ่เพื่อจะยืนยันว่าบุตรของนางเต้ยเกิดที่สมุทรสาครจริง นายจ้างก็จะมายืนยันว่านางเต้ยได้ทำงานที่โรงงานและสมุทรสาครจริง ความยากลำบากที่สำคัญคือ ข้าราชการ ที่จะมาเป็นพยาน ให้ นิสัยคนไทยถ้าไม่มีอะไรตอบแทนหรือผลประโยชน์ข้าราชการเองก็ไม่กล้าที่จะรับรองเพราะไม่ใช่เรื่องของตน ทำให้ความยากลำบากมีมากขึ้น ทางนายทะเบียนนัดสอบปากคำเพื่อยืนยันการเปลี่ยนจากสัญชาติไทยเป็นพม่า ในเดือนมกราคม ๕๖ นางเต้ยหาพยานบุคคลได้คือนายจ้าง ผู้ใหญ่บ้าน แต่ขาดข้าราชการ รับรอง จากนั้นเองนางเต้ยจะไปหาที่ไหนใครจะไปช่วยรับรองบุตรแรงงานข้ามชาติ โชคเข้าข้างนางเต้ยที่รู้จักกับองค์กรเอกชนที่พอจะไปขอความช่วยเหลือจากข้าราชการที่ทำงานและช่วยเหลือเด็กข้ามชาติ แต่กระนั้นเองได้ข้าราชการไปก็ประสบปัญหาเพราะการเปลี่ยนแปลงสัญชาติเพื่อป้องการเรียกร้องหรือการร้องขอสัญชาติไทยภายหลังทำให้ข้าราชการต้องมีการรับรอง ครั้งที่สองที่ไปที่เทศบาลนั้น มีพยานครบทั้งผู้ใหญ่บ้าน นายจ้าง ข้าราชการแต่ก็เจอปัญหาเพราะไม่ใช้ข้าราชการประจำจึงทำให้นางเต้ย เองต้องหาอีกว่าข้าราชการที่ได้รับการประเมินและมีการบรรจุจริงมาเป็นพยาน สุดท้ายก็ต้องรออีกแต่โชคเข้าข้างนางเต้ยทางข้าราชการครูประจำนั้นเป็นเพื่อนกับข้าราชการที่ยังไม่บรรจุจึงเข้ามาช่วยเหลือและได้เป็นพยาน ซึ่งที่เทศบาลความหวังของคนไม่มีสถานะนั้นมาขอแจ้งเกิดเยอะทั้งคนไทยเอง แรงงานข้ามชาติเองจนทำให้สมุทรสาครอาจมีปัญหาเรื่องทะเบียนราษฎร์ที่อาจเรื้อรัง

สิทธิขั้นพื้นฐานที่ถูกจำกัดและไม่ถูกจำกัดสามารถแยกประเภทออกได้ดังนี้ สิทธิในการได้รับการจดแจ้งการเกิด สิทธิในการเข้าสู่กระบวนการรับการศึกษาและพัฒนาความรู้ความสามารถ สิทธิในการทำงาน สิทธิในการประกอบธุรกิจและการค้า สิทธิในการเข้ารับบริการด้านสาธารณสุข สิทธิการเดินทาง สิทธิในการจดทะเบียนก่อตั้งครอบครัว สิทธิในการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ในที่นี้ขอยกตัวอย่างเพียงประเด็นแรก คือสิทธิในการได้รับการจดแจ้งการเกิด ซึ่งเป็นไปตาม พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พุทธศักราช ๒๕๓๔ สาระสำคัญแห่งสิทธิคือบุคคลทุกคนไม่ว่าจะมีสถานะใดหรือแม้แต่ไม่มีเอกสารพิสูจน์ตนใดๆเลยหากมีบุตรที่เกิดในประเทศไทยบุตรคนดังกล่าว ต้องได้รับการจดแจ้งการเกิดซึ่งมีการดำเนินการคือหากที่เกิดที่สถานพยาบาลหรือผู้ทำคลอดเป็นผู้มีวิชาชีพโดยตรง อันนี้ทางสถานพยาบาลต้องออกใบรับรองการเกิด ให้แก่ บิดา ,มารดา หรือเจ้าบ้านแห่งสถานที่ที่คลอดเพื่อเป็นหลักฐานว่ามีการเกิดจริง ตามบทบัญญัติ หรือที่เรียกว่าแบบพิมพ์ ท.ร.๑/๑ ซึ่งใช้เฉพาะ โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลโดยอาชีพเท่าน้ันถือว่าเป็นเอกสารราชการโดยเฉพาะสถานพยาบาลของรัฐ มีอยู่สองส่วนด้วยกันส่วนตอนที่ ๑ จะมอบให้ผู้ปกครอง บิดาหรือมารดา ตอนที่ ๒ เก็บไว้ที่โรงพยาบาลเพื่อเป็นฐานข้อมูล หากการเกิดในชุมชนหรือหมู่บ้านในส่วนนี้หากมีการเกิด ผู้มีหน้าที่ต้องแจ้งการเกิดสามารถแจ้งถึงเหตุแห่งการเกิดบุคคล ต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งในชุมชนหรือในหมู่บ้านเพื่อขออกเอกสารรับแจ้งการเกิด ทั้งนี้การขอใบรับแจ้งการเกิดนั้นเป็นไปตามประการสำนักทะเบียนกลาง หรือการแต่งตั้ง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เป็นนายทะเบียนรับแจ้ง ทร.๑ ตอนหน้า เมื่อมีการแจ้งเกิดหน้าที่ของนายทะเบียนที่จะต้องออก”สูติบัตร”ให้เป็นหลักฐานแก่ผู้แจ้ง

กรณีการแจ้งเกิดของบุคคลที่มีสัญชาติไทยและแจ้งภายกำหนด โดยนายอำเภอมีหน้าที่เรียกตรวจพยานเอกสารต่างๆทั้งของบุตรที่เกิดและของบิดามารดา หากเชื่อได้ว่าเป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทยและเกิดในประเทศไทยจริงก็จะดำเนินการออกสูติบัตรให้แก่ผู้แจ้ง โดยสูติบัตรเป็นไปตามแบบพิมพ์ ท.ร. ๑ หากบุคคลที่มีการแจ้งเกิดที่มีสัญชาติไทยแต่ไม่ได้แจ้งภายในกำหนดก็จะถูกเปรียบเทียบปรับโดยนายอำเภอดำเนินการไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท และดำเนินการตรวจสอบพยานหลักฐานต่างๆ สอบสวนผู้แจ้ง บิดาและมารดาของบุตรที่เกิด เพื่อทราบสาเหตุในการไม่ดำเนินการแจ้งเกิดภายในกำหนด ทีนี้การแจ้งการเกิดของบุคคลต่างด้าว (บุคคลไม่มีสัญชาติไทย) เหมือนกันกับแจ้งเกิดคนสัญชาติไทยแต่สูติบัตรจะเป็นแบบประเภท ท.ร.๓ เป็นสำหรับคนไม่มีสัญชาติไทย หน้าที่ทั้งสามการแจ้งเกิดนั้นกระบวนการทั้งสามนั้นนายทะเบียนจะต้องดำเนินการกำหนดเลข ๑๓ ให้แก่เด็กที่เกิดตามมาตรา ๑ต เพื่อเป็นการเก็บข้อมูลทะเบียนประวัติราษฎร รวมทั้งเพิ่มชื่อของเด็กที่เกิดเข้าไปในทะเบียนบ้านซึ่งอาจเป็นทะเบียนบ้านประเภท ท.ร.๑๔,ท.ร.๑๓ หรือทะเบียนกลางแล้วแต่กรณี การแจ้งการเกิดต่อนายทะเบียนในปัจจุบันไม่ต้องแจ้งยังสำนักทะเบียนแห่งท้องที่แห่งที่เกิดแล้ว โดยสามารถแจ้ง ณ สำนักทะเบียนก็ได้ในกรณีที่ไม่มีหนังสือรับรองการเกิด ผู้แจ้งการเกิดอาจใช้ผลการตรวจทางวิทยาศาสตร์ เช่น การตรวจสารพันธุกรรม ที่ตรวจพิสูจน์ จากหน่วยงานของรัฐ หรือสถาบันที่มีความน่าเชื่อถือ เพื่อเป็นหลักฐานพิสูจน์ความเป็นบิดาหรือมารดาและบุตรแทนได้ โดยสาระสำคัญจะคล้ายกับวีการแจ้งเกิดเกินกำหนด คือจ้องมีการสอบปากคำพยานบุคคล ว่าเด็กเกิดในท้องที่อื่นดังที่แจ้งจริงพร้อมทั้งยืนยันความเป็นบิดามารดาของบุตรด้วยแต่หากไม่มีพยานบุคคลก็จะใช้การตรวจ DNA เข้าพิสูจน์ความสัมพันธ์แทน

จากนั้นมีการเป็นพยานเรื่องน่าจะเสร็จแต่นายทะเบียนเรียกเอกสารประกอบทะเบียนบ้านนายจ้างพยานและข้าราชการจึงขาดเพียงทะเบียนบ้านของข้าราชการประจำ ปัจจุบันยังไม่มีสถานะบุคคลสำหรับบุตรนางเต้ย เนื่องจากต้องดำเนินการเรื่องเอกสารทะเบียนบ้านแต่ก็ไม่น่าจะมีปัญหาเพราะดำเนินการมาครบกระบวนการแล้ว นี่เพียงตัวอย่างผู้ประสบปัญหาที่สามารถติดต่อได้ครบพยานทุกฝ่ายแต่สมุทรสาครเองนั้นมีบุตรแรงงานข้ามชาติที่มีจำนวนเยอะ สถานะผู้ติดตาม เด็กที่คลอดในสถานพยาบาลแล้วใบรับรองการเกิดไม่ปรากฏหลักฐาน การแจ้งเกิดช้า สภาพปัญหาจึงมีมากที่ส่งผลกระทบต่อสถานะบุคคลของเด็กข้ามชาติ ในจังหวัดสมุทรสาครเชื่อมโยงไปยังสิทธิในการเข้าสู่กระบวนการรับการศึกษา และพัฒนาความรู้ความสามารถ สิทธิในการทำงาน สิทธิในการประกอบธุรกิจและการค้า สิทธิในการเข้ารับบริการด้านสาธารณสุข สิทธิการเดินทาง ลูกโว่เหล่านี้เกิดจากหลักฐานที่มีปัญหาตั้งแต่เกิดมาของเด็กถือว่าเป็นหัวใจสำคัญที่ส่งผลในระยะยาว การแก้ไขปัญหาจึงต้องมีการให้คำปรึกษาและหารรูปแบบร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐผู้ให้บริการและแรงงานข้ามชาติผู้รับบริการต่อไป

การประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำร่างข้อเสนอการคุ้มครองเด็กในระดับพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร

สท. ร่วมกับมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน (LPN) กำหนดจัดประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำร่างข้อเสนอการคุ้มครองเด็กในระดับพื้นที่อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการพัฒนาระบบคุ้มครองเด็กจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในระดับจังหวัดได้แก่ ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม เด็กและครอบครัว ซึ่งเป็นผู้รับบริการ

ด้วยสำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ (สท.)กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ดำเนินการสำรวจข้อมูลและสภาพการณ์ การพัฒนาการคุ้มครองเด็กในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อศึกษาระบบการคุ้มครองเด็กในพื้นที่ รวมทั้งสำรวจข้อมูลสถานการณ์แนวทางการคุ้มครองเด็กที่ต้องการการคุ้มครองเป็นพิเศษ กลุ่มแรงงานเด็ก ลูกแรงงานต่างด้าว โดยได้รับความร่วมมือจากมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน